โดย Gina Lee
Investing.com – ดอลลาร์อ่อนค่าลงเช้าวันนี้ แต่ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบหนึ่งเดือน ก่อนที่จะมี การประกาศนโยบายของเฟด
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 0.04% เป็น 90.468 เมื่อเวลา 13:11 น. ET (5:11 น. GMT)
ค่าเงินเยน ทรงตัวที่ 110.06 อยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยนักลงทุนรอ การตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ในวันศุกร์นี้
ข้อมูลการค้าของญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคมค่อนข้างน่าผิดหวัง โดย การส่งออก เติบโต 49.6% เมื่อเทียบปีต่อปี และ ดุลการค้า หดตัวลง 187.1 พันล้านเยน อย่างไรก็ตาม การนำเข้า ขยายตัวดีเกินคาดที่ 27.9% เมื่อเทียบปีต่อปี
ค่าเงินออสเตรเลีย ขยับขึ้น 0.15% เป็น 0.7696 และ ค่าเงินนิวซีแลนด์ เพิ่มขึ้น 0.32% เป็น 0.7142
ค่าเงินหยวน ลดลง 0.07% เป็น 6.4008 ข้อมูลเศรษฐกิจจีน รวมทั้ง การผลิตภาคอุตสาหกรรม และ อัตราการว่างงาน จะเผยแพร่ในวันนี้
ค่าเงินปอนด์ ขยับขึ้น 0.06% สู่ 1.4089 โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 1.4035 ดอลลาร์ในช่วงก่อนหน้า แม้ว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่ดีเกินคาด ซึ่งรวมถึง ดัชนีรายได้เฉลี่ยและโบนัส ของเดือนเมษายน
อย่างไรก็ตาม เชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว กดดันให้นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษต้องชะลอแผนการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกสามสัปดาห์ ยังคงเป็นประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง
ค่าเงินบาท เพิ่มขึ้น 0.13% ซื้อขายอยู่ที่ 31.18 บาทต่อดอลลาร์
ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐระบุว่า ยอดค้าปลีกพื้นฐาน เดือนพฤษภาคมหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.7% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน แต่ดัชนีราคาผู้ผลิตเติบโตดีกว่าที่คาดที่ 0.8% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และ 6.6% เมื่อเทียบปีต่อปี ตามลำดับ
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมก็เติบโตดีกว่าที่คาดที่ 0.8% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็น 16.37% เมื่อเทียบปีต่อปี
เฟดถูกคาดหวังให้เริ่มแถลงการณ์ว่า จะลดสัดส่วนสินทรัพย์ลงเมื่อใดและอย่างไร หลังการประชุมเชิงนโยบายในวันนี้
นักลงทุนบางส่วนเชื่อมั่นว่า เฟดจะยังคงงดเว้นการให้เบาะแสใด ๆ เกี่ยวกับการลดสัดส่วนสินทรัพย์ในช่วงเวลานี้
“เฟดประกาศว่าจะตอบสนองต่อข้อมูลเศรษฐกิจ และยังบอกด้วยว่า สภาวะเงินเฟ้อต้องยืดเยื้อกว่านี้ก่อนที่พวกเขาจะให้คำมั่นที่จะลดหรือเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์” นายบาร์ต วากาบายาชิ ผู้จัดการสาขาของธนาคารแห่งโตเกียวกล่าวกับรอยเตอร์
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นเมื่อมีนัยว่าเฟดจะลดสินทรัพย์ลงหรือเริ่มหารือเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ “ผมคิดว่าพวกเขาจะยึดติดกับแนวทางเดียวกันและมันอาจจะจบลงด้วยการไม่มีอะไรเกิดขึ้น” วากาบายาชิกล่าวเสริม
นักลงทุนรายอื่น ๆ เสริมว่า ค่าเงินดอลลาร์อาจแข็งขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากสกุลเงินหลักอื่น ๆ ดูเหมือนจะกำลังหมดแรงขับเคลื่อน
"เราต้องสังเกตว่า เงินดอลลาร์กำลังแข็งค่าขึ้นในขณะนี้ แม้ว่าอัตราผลตอบแทนฯจะลดลงต่ำกว่า 1.5% ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราแสดงให้เห็นว่า อาจมีแรงกดดันอย่างมากในการทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นหากเฟดประกาศข้อมูลที่พลิกความคาดหมาย” มาโกโตะ โนจิ หัวหน้านักยุทธศาสตร์ด้าน FX ของ SMBC Nikko Securities กล่าวกับรอยเตอร์