โดย Peter Nurse
Investing.com - ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงอีก ในช่วงเปิดการซื้อขายของตลาดยุโรป เนื่องจากนักลงทุนเดิมพันว่าราคาผู้บริโภคในสหรัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ยังไม่เพียงพอที่จะบีบให้ธนาคารกลางเปลี่ยนจุดยืนจากนโยบายการเงินในปัจจุบัน
เมื่อเวลา 2:55 น. ET (07:55 GMT) ดัชนีดอลลาร์ ลดลง 0.1% อยู่ที่ 89.90 จุด
ค่าเงินเยน เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 109.40 ค่าเงินปอนด์ เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 1.4179 ในขณะสกุลเงินที่อ่อนไหวอย่าง ค่าเงินออสเตรเลีย แข็งขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ 0.7753
ค่าเงินบาท ทรงตัวอยู่ที่ 31.050 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลที่เผยแพร่ในสหรัฐระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้นถึง 5.0% เมื่อเทียบปีต่อปีในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 12 ปี และเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน ขณะที่ ค่า CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน เพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบปีต่อปี และ 0.7% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเฝ้าระวังตัวเลขเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งตลอดทั้งสัปดาห์และสูงเกินความคาดหมาย อย่างไรก็ตาม ท่าทีดังกล่าวลดลงไปเมื่อมีการประกาศตัวเลข CPI รวมถึงแรงหนุนจากการขึ้นราคาตั๋วเครื่องบินและรถยนต์มือสองในระยะสั้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีบทบาทต่อการหารือของเฟดในเรื่องที่ว่า ภาวะเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเป็นการชั่วคราว
ความเชื่อมั่นในความคิดเห็นของเฟด สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน อยู่ที่ 1.44% แต่เมื่อครั้งที่นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นเกือบ 1.78%
ความสนใจในตอนนี้เปลี่ยนไปเป็นการประชุมสัปดาห์หน้าของ คณะกรรมการตลาดกลางแห่งสหพันธรัฐ (FOMC) แต่ไม่มีความคาดหวังเชิงบวกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
ค่าเงินยูโร เพิ่มขึ้น 0.2% อยู่ที่ 1.2188 โดยประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) คริสติน ลาการ์ด ได้กลับมาให้คำมั่นว่ามีแผนการที่จะซื้อพันธบัตรให้เร็วขึ้น แม้ว่าตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของธนาคารกลางจะดีขึ้นและยังคงควบคุมค่าเงินไว้ได้ในระดับเดิม
เคธี เหลียน นักวิเคราะห์จาก BK Asset Management กล่าวว่า "ประเด็นสำคัญ คือ ECB จะยังคงปักหลักอยู่ที่จุดเดิม และเช่นเดียวกับเฟด มันให้น้ำหนักกับตัวเลขข้อมูลมากกว่าการคาดการณ์"
ในช่วงท้ายวันนี้ จะมีการหารือกันของ ธนาคารกลางรัสเซีย เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับระดับที่เหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยในประเทศ หลังอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงเกินคาดในช่วงต้นสัปดาห์
อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคประจำปี เร่งตัวขึ้นเป็น 6.0% ในเดือนพฤษภาคม ตามข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 4% และสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016
ในช่วงนั้นอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 10% แต่ตอนนี้อยู่ที่ 5% กระตุ้นให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จะมีการปรับค่าพื้นฐานขึ้น 50 จุด ณ เวลา 6:30 น. ET (1030 GMT) เพิ่มเป็น 5.5%
เมื่อเวลา 2:55 น. ET ค่าเงินรูเบิล มีการซื้อขายลดลง 0.7% อยู่ที่ 71.8027 ดอลลาร์