InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.12/13 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าอยู่ที่ระดับ 33.93/95 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.82 - 34.14 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวไปในทิศทางอ่อนค่า ยังคงรับปัจจัยจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศเมื่อคืนนี้ ทั้ง ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลาง ญี่ปุ่น (BOJ) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.25% ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า ประกอบกับ ราคาทองทั่วโลกยังคงปรับลงต่อเนื่อง นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 33.80 - 34.25 บาท/ดอลลาร์ สำหรับสัปดาห์หน้า ตลาดรอติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 17-18 ธ.ค. 67 ซึ่ง 96.7% คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% นอกจากนี้ สัปดาห์หน้ายังมีการรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) จากสหรัฐฯ ด้วย
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 153.39/42 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 152.76/79 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0474/0475 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0465/0468 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,431.67 จุด ลดลง 8.22 จุด (-0.57%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 40,324.88 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 492.63 ลบ. (SET+MAI) - รมว.แรงงาน มั่นใจที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดไตรภาคี) ในวันที่ 23 ธ.ค. จะมีข้อสรุปเรื่องการปรับขึ้นค่า แรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท แต่คงจะทยอยแบ่งปรับขึ้นเป็น 3 ระยะโดยอิงข้อมูลจริงตามภาวะเศรษฐกิจ ไม่ได้ปรับขึ้นพร้อมในคราวเดียวกัน ทุกสาขาอาชีพ เนื่องจากต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ประกอบการ SME โดยจะพิจารณาลงไปในแต่ละพื้นที่ที่มีสภาพเศรษฐกิจแตกต่าง กัน - นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่สำนักข่าวรอยเตอร์สำรวจความคิดเห็น คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะคงอัตรา ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงิน เดือนธ.ค. ซึ่งจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยประเมินจากความเสี่ยงในต่าง ประเทศและแนวโน้มค่าจ้างในปีหน้า ซึ่งแตกต่างไปจากผลสำรวจของเดือนที่แล้วซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า BOJ จะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยก่อนสิ้นปีนี้ - นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีน คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยคาดว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพียง 3-4% ในช่วงหลายปีข้างหน้า - ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนอีกครั้ง และยังคงคาดการณ์ว่าอัตราเงิน เฟ้อของยูโรโซนจะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ระดับ 2% อย่างมีเสถียรภาพ - สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) รายงานในวันนี้ (13 ธ.ค.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ อังกฤษ ลดลง 0.1% ในเดือนต.ค. หลังจากหดตัวในอัตราเดียวกันในเดือนก.ย. และยังต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัว 0.1%