InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้า เปิดตลาดที่ระดับ 34.62/64 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ 34.56 - 34.67 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวผันผวนตามราคาทองคำ โดยเงิน บาทเคลื่อนไหวแข็งค่าเหมือนสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยที่ประกาศออกมาในวันนี้นั้น มีผลต่อตลาด จำกัด สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ สหรัฐฯ จะประกาศตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค. นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50 - 34.75 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 153.66 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 154.11/15 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0540 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0590/0592 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ 1,460.11 จุด เพิ่มขึ้น 7.33 จุด (+0.50) มูลค่าซื้อขาย 46,064.99 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 459.49 ล้านบาท - คณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจนัดแรก เคาะเดินหน้าแจกเงินหมื่นเฟส 2 ให้กลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี ราว 3-4 ล้านคน โดยเป็นการแจกเงินสดเหมือนเฟสแรก คาดใช้วงเงินราว 40,000 ล้านบาท ได้เงินไม่เกินตรุษจีนปี 68 ส่วนเฟส ถัดไปคาดว่าจะดำเนินการได้ในเดือน เม.ย.-มิ.ย. 68 เนื่องจากต้องรอทบทวนรายละเอียด และรอระบบพร้อม นอกจากนี้ ยังเห็นชอบ หลักการปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือนใน 3 กลุ่ม ได้แก่ บ้าน รถยนต์ และหนี้เพื่อการบริโภค โดยให้มีการพักชำระดอกเบี้ย 3 ปี เพื่อ บรรเทาภาระในช่วงแก้ไขปัญหา - นายกรัฐมนตรี พอใจตัวเลข GDP ไตรมาส 3/67 ขยายตัว 3% และคาดว่าทั้งปี 67 จะขยายตัว 2.6% ถือเป็นสัญญาณที่ ดีของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนภาครัฐ และการท่องเที่ยว แต่การลงทุนภาคเอกชนยังต้องเพิ่มได้อีก จึงได้สั่งการให้หน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ไปเร่งหามาตรการเพื่อช่วยการลงทุนภาคเอกชนให้มากขึ้น เพื่อทำให้ GDP ขยับมากขึ้น - รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ย. 67 รวม ทั้งสิ้น 30,564,481 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 1,430,108 ล้านบาท - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า การขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้กันไปมาอาจบั่นทอนโอกาสทางเศรษฐกิจของ เอเชีย เพิ่มต้นทุน และกระทบห่วงโซ่อุปทาน แม้ IMF คาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะยังคงเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจโลก