🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.68 กลับมาแข็งค่า จับตาบอนด์ยีลด์สหรัฐ-ราคาทองโลก

เผยแพร่ 25/10/2567 00:51
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.68 กลับมาแข็งค่า จับตาบอนด์ยีลด์สหรัฐ-ราคาทองโลก
USD/THB
-
SETI
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.68 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.83 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.67 - 33.84 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ ตลาดติดตามในช่วงนี้ ได้แก่ ทิศทางความเคลื่อนไหวของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลก "บาทเคลื่อนไหวตามค่าเงินในภูมิภาค แต่อ่อนค่ากว่าเนื่องจากเมื่อวานเป็นวันหยุด" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.60 - 33.80 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้สหรัฐฯ จะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 151.967 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 152.57 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0801 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0784 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,460.64 จุด ลดลง 9.68 จุด, -0.66% มูลค่าซื้อขาย 54,423.95 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 375.68 ล้านบาท - ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน ก.ย.67 อยู่ที่ 80,254 คัน ลดลง 17.67% จากเดือน ก.ย.66 ขณะที่ มีมูลค่าการส่งออก 74,836.78 ล้านบาท ลดลง 11.88% จากเดือน ก.ย.66 เช่นกัน โดยพิจารณาปรับลดเป้าหลังตัวเลข 9 เดือนแรก หดตัวต่อเนื่อง ทั้งยอดผลิต ยอดขายในประเทศ และยอดส่งออก - ราคาทอง (96.5%) ขายปลีกในประเทศวันนี้ปรับตัวลดลงจากเมื่อวานบาททองคำละ 250 ตามสถานการณ์ราคาทองใน ตลาดโลก หลังจากวานนี้พุ่งแรง - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจทั้ง 12 เขต หรือ Beige Book โดยระบุว่า กิจกรรม ทางเศรษฐกิจในพื้นที่ส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ อยู่ในระดับทรงตัวนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ย. - รองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุความตึงเครียดทางการค้าและภาษีนำเข้าที่ทวีความ รุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จะส่งผลกระทบลามไปยังเศรษฐกิจทั่วโลก - ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เตือนว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช้าเกินไปอาจส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเผชิญกับความ เสี่ยง พร้อมกับกล่าวว่าการหาจุดสมดุลที่เหมาะสมนั้น เป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจญี่ปุ่น - นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์หน้า ก่อนที่จะเริ่ม ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.ปีนี้ หรือในเดือนม.ค.ปีหน้า

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย