InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.35 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.25 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 34.22 - 34.40 บาท/ ดอลลาร์ ยังไม่มีปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนัก คืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต และ ภาคบริการขั้นต้น เดือนส.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งตลาดคาดไว้ที่ 230,000 คน นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ ไว้ที่ 34.20 - 34.50 บาท/ดอลลาร์ พร้อมแนะระวังความผันผวนของค่าเงินเยนในช่วงเช้าพรุ่งนี้ เนื่องจากผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะออกมาชี้แจงกับ สภาผู้แทนราษฎร หลังทำให้เกิดเหตุการณ์ Black Monday ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนักเมื่อต้นเดือน ส.ค. ภายหลัง BOJ ประกาศ ขึ้นดอกเบี้ย * ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 145.57 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 145.37 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1138 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1148 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ 1,341.03 จุด เพิ่มขึ้น 3.20 จุด (+0.24%) มูลค่าซื้อขาย 38,479.88 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 896.97 ล้านบาท - ความคืบหน้าการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) "อุ๊งอิ๊ง 1" ล่าสุด พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ได้ส่งรายชื่อว่าที่รัฐมนตรีมา ให้ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่พบว่ารายชื่อที่ส่งมาให้นั้น เกินจำนวนตำแหน่งของ รัฐมนตรี โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนส่งไปตรวจสอบคุณสมบัติ คาดใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ - รมว.คลัง ให้ความเห็นหลัง กนง.คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% โดยมองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่นำไปสู่อัตรา ดอกเบี้ยที่ร้านค้า และ ประชาชนจะต้องจ่ายนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ต้องใคร่ครวญมากกว่าว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้กำกับดูแล จะต้องพิจารณา ว่าอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้รายย่อยควรจะเป็นระดับใดจึงจะเหมาะสม ซึ่งส่วนตัวมองว่า ส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างลูกค้าแต่ ละกลุ่ม มีอัตราที่แตกต่างกันอยู่มาก - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) คาดว่า กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาส 4/67 และจะลดอีกครั้งในไตร มาส 1/68 เพื่อช่วยผ่อนคลายภาวะการเงินในประเทศ หลังจากภาวะการเงินตึงตัวขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับความเปราะบาง ทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีอยู่เดิม ส่งผลให้แรงส่งเศรษฐกิจไทยจากอุปสงค์ในประเทศแผ่วลง จะเห็นชัดเจนขึ้นในช่วง ปลายปีนี้ - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 30-31 ก.ค. ซึ่งส่งสัญญาณว่ามี ความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. - ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงิน 3.593 แสนล้านหยวน (5.044 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบการ เงินในวันนี้ (22 ส.ค.) ผ่านข้อตกลง reverse repo ประเภทอายุ 7 วัน โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ 1.7% - ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีกำหนดเข้าชี้แจงและตอบข้อซักถามจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นในวันศุกร์นี้ หลัง จาก BOJ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการที่ได้ส่งสัญญาณเชิงรุกว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่ว โลกร่วงลงอย่างหนักในช่วงต้นเดือนนี้ - คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีกิจกรรม เศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนก.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต และภาคบริการขั้นต้นเดือนส.ค. และยอดขายบ้านมือสอง