ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.19/20 ยังแข็งค่าต่อเนื่อง ลุ้นกนง.พรุ่งนี้คงดอกเบี้ยนโยบาย

เผยแพร่ 21/08/2567 00:31
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.19/20 ยังแข็งค่าต่อเนื่อง ลุ้นกนง.พรุ่งนี้คงดอกเบี้ยนโยบาย
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.19/20 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 34.25/29 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.18-34.36 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาท ที่ระดับ 34.18 เป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคแข็งค่า ปัจจัยหลักเนื่องจากราคาทองคำขึ้น โดยตลาดมองว่าทองเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และยัง คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ประกอบกับมีแรงซื้อจากผู้บริโภคในเอเชียและธนาคารทั่วโลก ส่งผลให้ ดอลลาร์อ่อนค่า ปัจจัยที่ตลาดรอติดตาม คือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพรุ่งนี้ (21 ส.ค.) ซึ่งคาดว่า จะคง อัตราดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม ทั้งนี้ คาดว่าอาจลดดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า นักบริหารเงิน คาดพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.10-34.30 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.40/41 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 146.00/04 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1080/1081 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1085/1088 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,328.12 จุด เพิ่มขึ้น 4.74 จุด (+0.36%) มูลค่าซื้อขาย 48,002.83 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,756.91 ล้านบาท - รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-18 ส.ค. 67 มียอดสะสมนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้า ประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 22,474,172 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 1,058,026 ล้านบาท - สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ซึ่งเป็นมาตรวัด เงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนก.ค. 67 ในวันนี้ - สมาชิกคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และประธานธนาคารกลางฟินแลนด์กล่าวว่า ECB อาจจำเป็น ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมเดือนก.ย. เมื่อพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ - สำนักงานศุลกากรจีน (GACC) เปิดเผยข้อมูลในวันนี้ (20 ส.ค.) ว่า การนำเข้าทองคำในเดือนก.ค. ลดลง 24% แตะ ที่ 44.6 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่าสองปี ลดลงต่อเนื่องจากเดือนมิ.ย. ที่ร่วงลงอย่างฮวบฮาบถึง 58% จากเดือนพ.ค. ยอดการ นำเข้าทองคำที่ลดลงอย่างมากแสดงให้เห็นว่า ราคาที่สูงลิ่วและเศรษฐกิจที่อ่อนแอส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อชาวจีน ซึ่งได้รับแรงกดดันอยู่แล้วจาก วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ยืดเยื้อ และสกุลเงินท้องถิ่นที่อ่อนค่าลง

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย