ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.25/29 แข็งค่าต่อเนื่อง ตลาดจับตากนง.พรุ่งนี้-ประชุมแจ็กสันโฮล

เผยแพร่ 20/08/2567 16:27
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.25/29 แข็งค่าต่อเนื่อง ตลาดจับตากนง.พรุ่งนี้-ประชุมแจ็กสันโฮล
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.25/29 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.46 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกัน โดยเมื่อคืนนี้ยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดรอติดตามผลการประชุมคณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพรุ่งนี้เป็นหลัก และรอติดตามงานสัมมนาเชิงวิชาการที่เมือง Jackson Hole ซึ่งประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะแถลงกำหนดทิศทางดอกเบี้ยในวันศุกร์นี้ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 34.00 - 34.50 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.3050 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.00/04 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 146.26 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1085/1088 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1034 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.452 บาท/ดอลลาร์ - "แพทองธาร" มั่นใจตั้งครม.ชุดใหม่เสร็จในสัปดาห์นี้ ชงกฤษฎีกาตรวจสอบคุณสมบัติเข้มข้นกันพลาด ระบุโควตา "เพื่อ ไทย" ยังไม่ขยับรอหารือก่อน "ภูมิธรรม" กำชับ "พรรคร่วมฯ" เร่งส่งชื่อ รมต.วันนี้ ตรวจประวัติทั้ง รมต.เก่าและใหม่ ปัดข่าวอยาก นั่ง "มท." บอกอยู่ "พณ." ดีอยู่แล้ว - "พาณิชย์" ถก 30 กลุ่มธุรกิจ รวมข้อมูลจ่อผุดแผนแก้ไขปัญหาสินค้านำเข้าไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำ ด้าน สมอ.แจงขอ มอก.โปร่งใส ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกขั้นตอน ยืนยันปลอดทุจริต ตรวจสอบได้ - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทวันที่ 19 ส.ค.แข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครึ่งที่ 34.45 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงิน บาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย และการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในตลาดโลกที่ยังคงยืนเหนือแนว 2,500 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ได้ ขณะที่เงินดอลลาร์ยังขาดแรงหนุน เนื่องจากตลาดยังคงมีจุดสนใจอยู่ที่โอกาสความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือน ก.ย. นี้ - ค่าเงินเอเชียแข็งค่าสุด รอบ 7 เดือน เงินบาทจ่อหลุด 34 บาทต่อดอลลาร์ หลังความกังวลภาวะถดถอยของสหรัฐ ลด ลง-คาดเฟดลดดอกเบี้ยเดือน ก.ย. ผู้ส่งออกดักขายดอลลาร์ ด้าน "กรุงศรี" มอง ครึ่งปีหลังเงินบาทผันผวนต่อ - "นักเศรษฐศาสตร์" ห่วงเศรษฐกิจไทย ครึ่งหลังปี 67 เสี่ยงสูงขึ้น แม้ตัวเลขไตรมาส 2 ออกมาตามคาด "อีไอซี" ชี้ ลง ทุนเอกชนทรุด ส่งสัญญาณเศรษฐกิจไทยเข้าสู่วัฏจักรขาลงชัดเจนในครึ่งปีหลัง จ่อหั่นจีดีพีต่ำเป้าที่ 2.5% "เกียรตินาคินภัทร" ชี้ผลกระทบ แบงก์ชะลอปล่อยกู้ กระทบสินเชื่อหด เริ่มมีผลกระทบเศรษฐกิจไทย ธุรกิจเริ่มมีปัญหามากขึ้น "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้ลงทุนเอกชนติดลบแรง สะท้อนการขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนเอกชนจับตาธุรกิจสภาพคล่องต่อเนื่อง หวั่นลามเป็นโดมิโนกระทบสถาบันการเงิน - ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี เอาไว้ที่ระดับ 3.35% และ คงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปี ที่ระดับ 3.85% ในวันนี้ (20 ส.ค.) ซึ่งสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (19 ส. ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล รวมทั้งจับตารายงานการประชุมประจำเดือนก.ค.ของเฟด - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (19 ส.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเจอโรม พา วเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด - นักลงทุนจับตารายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดประจำวันที่ 30-31 ก.ค.ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธ (21 ส. ค.) รวมทั้งจับตาการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 22-24 ส.ค. - นักลงทุนจับตาการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 22-24 ส.ค. โดยนายเจอโรม พา วเวล ประธานเฟดจะแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. เวลา 10.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือ 21.00 น. ตามเวลาไทย ซึ่งนักลงทุนต่างก็คาดหวังว่านายพาวเวลจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย