🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.32 แข็งค่าเล็กน้อย หลังตัวเลขศก.สหรัฐแย่กว่าคาดฉุดดอลลาร์อ่อน สัปดาห์นี้จับตาเงินเฟ้อ-การเมืองไทย

เผยแพร่ 05/08/2567 16:31
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.32 แข็งค่าเล็กน้อย หลังตัวเลขศก.สหรัฐแย่กว่าคาดฉุดดอลลาร์อ่อน สัปดาห์นี้จับตาเงินเฟ้อ-การเมืองไทย
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.32 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปิดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 35.35 บาท/ดอลลาร์ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนในกรอบ sideways โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการอ่อนค่าของดอลลาร์ หลัง ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือนก.ค. ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสลด ดอกเบี้ยได้ถึง 50bps ในการประชุมเดือนก.ย. พร้อมมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้มากกว่า 100bps ในปีนี้ ปัจจัยในประเทศสัปดาห์นี้ คาดรายงานเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนก.ค. อาจสูงขึ้น 0.8% ตามการปรับตัวขึ้นของราคา พลังงานและอาหาร นอกจากนี้ ตลาดจะรอฟังคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินไทยช่วง เดือนส.ค.ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าเริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะหากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง หรือกังวลปัญหาการ เมืองในประเทศ ซึ่งกดดันให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายสินทรัพย์ไทย อีกทั้งควรระวังความผันผวนจากปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และทิศทางเงินเยนญี่ปุ่น นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 35.20-35.40 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.1575 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.99 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 148.80 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0914 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0815 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.472 บาท/ดอลลาร์ - "คลัง" เปิดยอดจัดเก็บรายได้ 9 เดือน อยู่ที่ 2.01 ล้านล้านบาท วืดเป้า 2.61 หมื่นล้านบาท มั่นใจสิ้นปีบริหารจัดการ ได้ตามเป้าหมาย ด้าน "สรรพสามิต" ยังอ่วม มาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซล-เบนซิน-อีวีฉุดผลงานตก - อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ช่วงปลายเดือน มิ.ย.2567 ที่ผ่านมา กรมได้ทำหนังสือถึงบูล็อก หน่วยงานจัด ซื้อข้าวของรัฐบาลอินโดนีเซีย สอบถามถึงปริมาณข้าวที่จะซื้อจากไทยเป็นล็อตที่ 2 หลังจากที่ได้ขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ให้กับรัฐบาล อินโดนีเซียไปแล้ว 55,000 ตัน จากที่ตกลงจะซื้อขายกัน 1 ล้านตัน โดยไทยได้ส่งมอบข้าวให้กับรัฐบาลอินโดนีเซียครบแล้วตั้งแต่ช่วงต้น เดือน มิ.ย.2567 - สนข.เร่งเครื่อง "แลนด์ บริดจ์" มั่นใจโครงการเกิดขึ้นแน่นอนหลัง "ดูไบ จีน อเมริกา" สนใจลงพื้นที่ก่อสร้าง ปักหมุด เสนอ ครม.ในปีนี้ เริ่มตอกเสาเข็มปี 69 คาดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 73 - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 114,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ต่ำ กว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 177,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 179,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.ส่วนอัตราการ ว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.3% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.1% ข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญภาวะถดถอย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึง อัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน โดยดัชนี CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้น สหรัฐปิดตลาดที่ระดับ 23.39 ในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับ 29.66 ในระหว่างวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2566 - นักลงทุนวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญภาวะถดถอย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ ระดับสูงเป็นเวลานาน โดยดัชนี CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดที่ ระดับ 23.39 ในวันศุกร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับ 29.66 ในระหว่างวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 66 - นักเศรษฐศาสตร์ของซิตี้กรุ๊ป คาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในเดือนก.ย.และพ.ย. และอีก 0.25% ใน เดือนธ.ค. โดยก่อนหน้านี้ คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมทั้ง 3 ครั้ง - FedWatch Tool ของ CME บ่งชี้ว่า การคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมของเฟด ในเดือนก.ย.นั้น ได้พุ่งขึ้นเป็น 69.5% ในวันศุกร์ จาก 22% ในวันพฤหัสบดี

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย