ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.60 อ่อนค่ารับแรงซื้อดอลลาร์จากความกังวลสถานการณ์ในตอ.กลาง

เผยแพร่ 02/08/2567 16:34
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.60 อ่อนค่ารับแรงซื้อดอลลาร์จากความกังวลสถานการณ์ในตอ.กลาง
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.60 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาด เย็นวานนี้ที่ระดับ 35.58 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าเทียบจากท้ายตลาด เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากตลาดกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างดอลลาร์ หลังวานนี้ (1 ส.ค.) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ค. จากสถาบัน จัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังชะลอกว่าที่เคยประเมินไว้ ประกอบ กับยังมีปัจจัยความตึงเครียดในตะวันออกกลางด้วย จึงส่งผลให้ตลาดปิดรับความเสี่ยงเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 35.50 - 35.70 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. ของสหรัฐฯ คืนนี้ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.5175 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.54 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 149.76 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0791 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0782 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.482 บาท/ดอลลาร์ - ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เงินบาท ในเดือนที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้น เร็วเป็นผลจากหลายสาเหตุ คือ 1. ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ(CPI) ที่ออกมาต่ำกว่าคาด 3 เดือนติดต่อกัน 2. เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหนุนให้เงินบาทแข็งค่าตาม โดยเงินเยนแข็งค่าจากที่ตลาดมองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะขึ้นดอกเบี้ยได้ ขณะที่ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลง ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลง ซึ่งล่าสุด BOJ ก็ขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายไป 15 bps มาอยู่ที่ 0.25% ทำให้เงินเยนแข็งค่าต่อ และ 3. ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลกที่กลับมาปะทุขึ้น หลัง อิสราเอลโจมตีเบรุต ทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น หนุนให้บาทแข็งค่าขึ้นในช่วงข้ามคืน - "ภาครัฐ" รุกสกัดสินค้านำเข้า ไม่ได้มาตรฐานผ่านออนไลน์จากจีนเข้ามาตีตลาดไทย อย.ย้ำด่านตรวจเข้มทุกพัสดุส่งเข้า ไทย เร่งวิเคราะห์ยอดสินค้าสั่งผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ นำข้อมูลวางแผนกำลังคนรองรับ พิจารณากำหนดปริมาณสั่งมา ใช้ส่วนตัว สมอ. คุมเข้มมาตรฐานสินค้า 144 รายการ หนุนหน่วยงานรัฐเพิ่มสุ่มตรวจสินค้า เตรียมชง ครม.ประกาศเพิ่ม 9 ผลิตภัณฑ์ - คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติด้วยคะแนนเสียง 5-4 ในการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 5.00% ในการประชุมเมื่อวานนี้ สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ - เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (1 ส.ค.) หลังจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 14,000 ราย สู่ระดับ 249,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2566 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 236,000 ราย - สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 46.8 ในเดือนก. ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2566 จากระดับ 48.5 ในเดือนมิ.ย. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้นสู่ ระดับ 48.8 - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (1 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. และจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ตึง เครียดในตะวันออกกลาง - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐในวันนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินทิศ ทางตลาดแรงงานและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. จากระดับ 206,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.1% ในเดือน ก.ค. - นักวิเคราะห์จาก Glenmede คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 3 ครั้งที่เหลือในปีนี้ โดยเริ่มต้นจาก เดือนก.ย. สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดที่ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนก.ย., พ.ย. และธ.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย