InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 35.66 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ ระดับ 35.87 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.62 - 35.92 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าทิศทางเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค หลังจากที่ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกมาว่า มี การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้เงินเยนแข็งค่าอย่างรวดเร็ว "เงินบาทที่ระดับ 35.62 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าแข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือน (กลางเดือน มี.ค. 67) เช่นเดียวกับสกุลเงินเย นวันนี้ที่อยู่ที่ระดับ 150.75 เยน/ดอลลาร์ ที่แข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือน" นักบริหารเงิน กล่าว สำหรับคืนนี้รอติดตามผลการประชุม FOMC ซึ่งตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% ขณะเดียวกัน ตลาดรอดูรายงาน และถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ว่า จะเปิดทางลดดอกเบี้ยในรอบการประชุมเดือนก.ย. นี้หรือไม่ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.60 - 35.90 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.6412 บาท/ดอลลาร์
*ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.75 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 152.29 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0821 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0819 ดอลลาร์/ยูโร - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมในไตรมาส 2 ยังอยู่ในทิศทางขยายตัวจากไตรมาส ก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เศรษฐกิจในเดือน มิ.ย.67 ชะลอลงจากจำนวนและรายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง หลังเร่งไปในช่วง ก่อนหน้า ประกอบกับการส่งออกสินค้าลดลง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่อยู่ในช่วงปลายฤดูกาล และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สินค้าคงคลังยังสูง สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย. 67 อยู่ที่ระดับ 96.08 ลดลง 1.71% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. 66 ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนี MPI ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดผลิตยานยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 11 จากตลาดภาย ในประเทศ เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศลดลงจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง แต่ตลาดส่งออกยังคงขยายตัวได้, ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น และการทะลักเข้ามาของสินค้าต่างประเทศที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค - ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงหลังจากที่ประชุม BOJ ว่า มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.25% จากระดับ 0%-0.1% และปรับลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นรายเดือนลงสู่ระดับ 3 ล้านล้านเยน (2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นปี 69 จากระดับ 6 ล้านล้านเยน โดยการตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินขนานใหญ่ที่ BOJ ดำเนินการมาเป็น 10 ปี นอกจากนี้ BOJ ส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก และจะปรับระดับการผ่อนคลายทางการ เงิน โดยการดำเนินการดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะเป็นไปตามคาด - สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ได้เปิดเผยเมื่อวานนี้ (30 ก.ค.) ว่า การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า (EV) และแบตเตอรี่ ชิปคอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จะล่าช้าออกไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จากเดิมที่เคยประกาศว่าจะ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค.