ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.12 แข็งค่าเล็กน้อย ตลาดรอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง จับตาตัวเลขส่งออก-งบฯบจ.

เผยแพร่ 25/07/2567 16:35
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.12 แข็งค่าเล็กน้อย ตลาดรอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง จับตาตัวเลขส่งออก-งบฯบจ.
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจากปิดวันก่อนที่ระดับ 36.16 บาท/ดอลลาร์ การเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงนี้ ยังไม่ต่างจากวันก่อนๆ จนกว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่เพิ่มเติม โดยเงินบาทยังมีโอกาส ผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง ตามภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ที่ยังหนุนเงินดอลลาร์ รวมถึงกดดันให้บรรดานักลงทุนต่างชาติอาจทยอย ขายสินทรัพย์ไทยได้บ้าง โดยเฉพาะในส่วนหุ้น ขณะเดียวกัน เงินบาทก็อาจผันผวนไปตามโฟลว์ธุรกรรมที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ ทองคำ "การแข็งค่าของเงินบาท อาจเป็นไปอย่างจำกัด แถวโซน 36 บาท/ดอลลาร์ จนกว่าตลาดการเงินจะกลับมาอยู่ในภาวะเปิด รับความเสี่ยงชัดเจน" นายพูนระบุ โดยช่วงนี้ ตลาดรอลุ้นว่ายอดการส่งออกของไทยเดือนมิ.ย. (ประกาศวันที่ 26 ก.ค.) จะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องหรือไม่ รวมทั้งติดตามรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศในตลาดการเงินช่วงนี้ได้พอสมควร ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงาน GDP ไตรมาส 2/67 (ประมาณการเบื้อง ต้น) รวมถึงยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.95-36.20 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.135 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 152.80 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 154.64/66 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0839 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0839/0843 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.110 บาท/ดอลลาร์ - รมว.คลัง ชี้รัฐบาลเหลือกระสุนทางการคลังไม่มากนัก เนื่องจากหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 12 ล้านลบ. หรือ 64% ของจีดีพี ขณะที่เพดานการก่อหนี้อยู่ที่ไม่เกิน 70% ของจีดีพี หรือไม่เกิน 14 ล้านลบ. จึงเท่ากับว่ารัฐบาลสามารถก่อหนี้ได้อีกไม่เกิน 2 ล้านลบ. ดัง นั้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม - "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้กระตุ้นได้เฉพาะพายุหมุนลูกแรก ห่วงหมดมาตรการเศรษฐกิจปีหน้าดิ่งเหว "พิพัฒน์" คาดมีส่วนกระตุ้น เศรษฐกิจไม่ถึง 1% - กระทรวงพาณิชย์เผยส่งออกข้าวไทยครึ่งแรกของปีนี้ 4.79 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 17.98% ทำรายได้เข้าประเทศ 1.1 แสน ล้าน มูลค่าเพิ่มขึ้น 40% - วายแอลจีชี้ทองคำยังมีโอกาสปรับขึ้นได้ต่อ หลังระยะสั้นพยายามสร้างฐานที่โซน 2,400 ดอลลาร์สหรัฐ แม้หลังราคาทำ ระดับสูงสุดครั้งใหม่จะมีการย่อตัวลงมา แต่เมื่อราคาสร้างฐานได้ ภาพรวมในปีนี้ยังสามารถไปถึงเป้าหมาย 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอย ออนซ์ได้ พร้อมเปิดปัจจัยบวกยังแน่น ทั้งนโยบายดอกเบี้ยเฟดที่ใกล้เข้าสู่วงจรขาขึ้นขาลง ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางภูมิรัฐ ศาสตร์ที่ยืดเยื้อ และความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งสหรัฐ - เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับ ตัวขึ้นสู่ระดับ 55.0 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือน จากระดับ 54.8 ในเดือนมิ.ย. - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (24 ก.ค.) หลัง จากมีกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินสัปดาห์หน้า - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (24 ก.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) - นักวิเคราะห์จากบริษัท Kitco Metals กล่าวว่า ตลาดทองคำได้รับปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอก จากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐยังทำให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2567 ของสหรัฐในวันนี้ และดัชนี ราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันพรุ่งนี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความ สำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย