BAY มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 35.80-36.60 ลุ้นยอดค้าปลีกสหรัฐฯ-ผลประชุม ECB

เผยแพร่ 15/07/2567 21:06
© Reuters.  BAY มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 35.80-36.60 ลุ้นยอดค้าปลีกสหรัฐฯ-ผลประชุม ECB
USD/JPY
-
USD/THB
-

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 35.80-36.60 บาท/ดอลลาร์ หลังเงินบาทปิดแข็งค่าที่ 36.21 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 36.10-36.50 บาท/ดอลลาร์ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 สัปดาห์ เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประเมินว่ามีความคืบหน้าในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อและตลาดแรงงานชะลอตัวลง ขณะที่เฟดกำลังเผชิญความเสี่ยงสองด้านและไม่สามารถให้น้ำหนักไปที่การดูแลภาวะเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว โดยเฟดใกล้ที่จะลดดอกเบี้ยแต่ยังต้องการเห็นอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวต่อไป นอกจากนี้ ประธานเฟดระบุว่าการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยไม่ใช่การกระทำเพื่อหวังผลทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พ.ย.

ทั้งนี้ แรงขายดอลลาร์เร่งตัวหลังสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 3.0% ในเดือนมิ.ย.ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 1 ปี ทางด้านดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 3.3% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 3,150 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตร 8,717 ล้านบาท ตามลำดับ

โดยสัปดาห์นี้ตลาดจะติดตามจีดีพีไตรมาส 2 ของจีน ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.ของสหรัฐฯ รวมถึงการประชุมธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ซึ่งคาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 3.75% ในวันที่ 18 ก.ค.

อนึ่ง ภายหลังตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯสะท้อนการชะลอตัวมากขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่าเฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. นี้ โดยในภาพรวม ข้อมูลต่าง ๆ ทำให้เราเชื่อมั่นมากขึ้นว่าการเร่งตัวของเงินเฟ้อเมื่อต้นปีนี้เป็นเพียงภาวะชั่วคราว สนับสนุนมุมมองของเราที่ว่าเงินดอลลาร์อยู่ในทิศทางอ่อนค่าลงขณะที่ในการประชุม FOMC สิ้นเดือนนี้เฟดมีแนวโน้มส่งสัญญาณเพื่อปูทางไปสู่การปรับลดดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า ส่วนเงินเยนฟื้นตัวจากระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 38 ปี ขณะที่ข้อมูลบ่งชี้ว่าทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงตลาดหลังสหรัฐฯประกาศตัวเลขเงินเฟ้อต่ำกว่าคาด ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์ดูแลค่าเงินเยนไปสู่แนวทางเชิงรุก

ส่วนปัจจัยในประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าศักยภาพการเติบโตของไทยที่ 3% ยังไม่พอที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืนในระยะยาว ขณะที่หนี้ครัวเรือนซึ่งอยู่ที่ราว 91% ของจีดีพีสูงเกินไปสำหรับเสถียรภาพของประเทศ แต่การแก้ไขต้องใช้เวลา

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย