InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.19 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า โดยตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนในกรอบ sideways โดยมีจังหวะผันผวนอ่อนค่าลงบ้างในช่วงตลาดรับรู้ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ของ สหรัฐฯ ซึ่งออกมาสูงกว่าคาด ก่อนที่เงินบาทจะทยอยแข็งค่าขึ้น ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่ มาพร้อมกับการย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ สัปดาห์นี้ สถานการณ์การเมืองในประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้เล่นในตลาดติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีการนัดพิจารณาคดียุบ พรรคก้าวไกล โดยศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 17 ก.ค. นอกจากนี้ ตลาดจะรอติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มการเงิน นอกจากนี้ ควรติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ จีน ชุดที่ 20 ครั้งที่ 3 "แนวโน้มของค่าเงินบาท มองว่า โมเมนตัมการแข็งค่ายังคงมีอยู่ แต่เริ่มอ่อนกำลังลง และต้องอาศัยปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยต้องระวังสถานการณ์การเมืองในประเทศ ที่อาจกดดันฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้ นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ และเงิน หยวนจีน (CNY) ที่มีผลต่อเงินบาทในช่วงนี้ได้พอสมควร" นักบริหารเงิน ระบุ นายพูน คาดว่า สัปดาห์นี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.90-36.50 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.2000 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 158.09 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 159.12 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0889 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0884 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.170 บาท/ดอลลาร์ -"นายกฯ" เตรียมลงนามยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศ วันนี้ ย้ำรัฐบาลพร้อมหนุนกิจกรรม soft power พร้อม ยก "หมีเนย" เป็นแรงบันดาลใจให้นักท่องเที่ยวอยากมาไทย ขณะที่ "สมาคมโรงแรมไทย" เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม 40% ประเมินไตรมาส 3 ลูกค้าต่างชาติลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ด้านโรงแรมส่วนใหญ่ใน "ภาคเหนือ" ประเมินลูกค้าต่างชาติเพิ่ม ขึ้น - "อมรเทพ" ห่วงกำลังซื้อระดับล่างลามฉุด "ธุรกิจกลาง-บน" กระทบสภาพคล่องหด หนี้เสียเพิ่ม ชี้หาก "หนี้เสีย" ลาม สู่ "ธุรกิจขนาดใหญ่" ผนวกนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น "ตลาดทุน" กระทบ "หุ้นกู้" โอกาสอาจเป็น "โดมิโน" ลามสู่ภาคการเงิน "ศุภ วุฒิ" รับห่วง "นโยบายการเงินตึงตัว" เพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยครึ่งหลัง-ปีหน้า ชี้เริ่มกระทบ "เอสเอ็มอี-รายย่อย" ลามสู่ "ธุรกิจ ใหญ่" ขณะที่ "ค้าปลีกค้าส่ง ท่องเที่ยว โฆษณา" รับพิษเศรษฐกิจฉุดกำลังซื้อซบ - "บิ๊กคอร์ป" รับมือเศรษฐกิจทรุด "บางจาก" มองงบลงทุนภาครัฐปัจจัยหลักฟื้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ชี้ภาคธุรกิจช่วงนี้ต้องบา ลานซ์ลงทุน ระยะสั้น-ยาว "สหวิริยา" หวังเศรษฐกิจไทยไม่ถึงขั้นวิกฤติต้มยำกุ้ง พร้อมระวังบริหารความเสี่ยงธุรกิจ ด้าน "ธุรกิจการค้า ท่องเที่ยว อสังหา" ผู้ประกอบการฮึดสู้! โฟกัสจุดแข็งอัดแคมเปญ จัดอีเวนต์ ปลุกบรรยากาศตรึงกำลังซื้อ ยังมีความหวังไตรมาสสุดท้าย สถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าที่คาดเล็กน้อย เนื่องจากต้น ทุนการบริการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่า เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย. - ดอลลาร์ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงกว่าคาดในวันศุกร์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เฟดตรึง อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ - เครื่องมือ FedWatch ของ CME Group บ่งชี้ว่า บรรดาเทรดเดอร์คาดว่า มีโอกาส 94% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.นี้ เพิ่มขึ้นจาก 78% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา - นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ได้รับการสำรวจโดยวอลล์สตรีทเจอร์นัล (WSJ) ระบุว่า นโยบายของอดีตประธานาธิบดีโดนัล ด์ ทรัมป์ มีแนวโน้มที่จะทำให้เงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นมากกว่านโยบายของประธานาธิบดีโจ ไบเดน - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กเดือนก.ค. ยอดค้าปลีก ตัว เลขการเริ่มสร้างบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ค. รายงาน Beige Book ของเฟด และจำนวน ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ รวมทั้งจับตาผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ด้วย