🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.31 แข็งค่ารับดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ชะลอ หลังปธ.เฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย

เผยแพร่ 11/07/2567 16:24
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.31 แข็งค่ารับดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ชะลอ หลังปธ.เฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.31 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปิดวันก่อน ที่ระดับ 36.40 บาท/ดอลลาร์ ตั้งแต่คืนที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น โดยแรงหนุนจากดอลลาร์ที่ทยอยอ่อนค่าลง พร้อมกับการปรับตัวลดลงบ้างของบ อนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังผู้เล่นในตลาดตีความจากถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรสล่าสุดว่า เฟดยัง มีโอกาสที่จะเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ราว 77% และเฟดก็มีโอกาสราว 99% ที่จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ เงินบาทยังพอได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ซึ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอย ขายทำกำไรทองคำออกมาบ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทประเมินว่ายังแกว่งตัว sideways ไปก่อน เนื่องจากผู้เล่นในตลาดรอลุ้นรายงานข้อมูล เศรษฐกิจสำคัญจากฝั่งสหรัฐฯ เช่น อัตราเงินเฟ้อ และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.20-36.50 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.2450 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 161.63 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 161.55/58 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0833 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0810 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.394 บาท/ดอลลาร์ - ม.หอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าเดือนมิ.ย. โดยต้องจับตาใน ส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ว่าจะยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีกเป็นเดือนที่ 4 หรือไม่ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ดัชนีลดลงต่อเนื่อง มาจากความ กังวลเสถียรภาพการเมืองภายในประเทศเป็นสำคัญ - รมว.คลัง จ่อหารือแบงก์ชาติทบทวนหลักเกณฑ์ LTV หวังเกิดแนวคิดใหม่ เผยหนี้เสียบานเป็นปัจจัยหลักฉุดธุรกิจอสังหาฯ ไม่โต ชี้ไอเดียให้ต่างชาติถือครองที่ดิน 99 ปีดันตลาดฟื้นตัว - รมช.คมนาคม ชี้เที่ยวบินจีนพุ่ง 126% คาดปี 2581 ไฟลต์บินจีนจะเพิ่มเป็น 2 ล้านเที่ยวบิน สั่งวิทยุการบินขยายเส้นทาง บินรองรับนักท่องเที่ยวเฉิงตู หวังดันไทยเป็นฮับภูมิภาค - ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้า โดยระบุว่า เฟดกำลังให้ ความสนใจต่อตลาดแรงงานที่กำลังชะลอตัวลง และเฟดจะไม่รอจนกว่าเงินเฟ้อปรับตัวสู่เป้าหมาย 2% ถึงจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่วนในการแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐวานนี้ นายพาวเวล ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี นี้ แม้ว่าไม่มีการระบุกรอบเวลาที่ชัดเจน โดยเขากล่าวว่า การที่เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเกินไป และนานเกินไป อาจส่งผล กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ - ถ้อยแถลงของประธานเฟดเป็นปัจจัยหนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. โดย เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 74% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนก.ย. ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากระดับ 70% ในวันอังคาร (9 ก.ค.) และเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือนที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 45% - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (10 ก.ค.) หลังจากประธานเฟด ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อ ประเมินทิศทางเงินเฟ้อและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (10 ก.ค.) หลังจากประธานเฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลง ทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด - นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยสหรัฐ จะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิ.ย.ในวันนี้ (11 ก.ค.) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมิ.ย.ในวันศุกร์ (12 ก.ค.)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย