BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 36.40-37.10 ลุ้นข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ-เงินเฟ้อไทย

เผยแพร่ 01/07/2567 22:29
© Reuters.  BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 36.40-37.10 ลุ้นข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ-เงินเฟ้อไทย
USD/THB
-

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 36.40-37.10 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 36.78 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 36.56-36.99 โดยเงินดอลลาร์อ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินยูโรในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในช่วงแรกดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลักแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ขณะที่เงินเยนร่วงลงสู่จุดต่ำสุดในรอบเกือบ 38 ปี และยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าทางการญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนรอบใหม่ หลังจากทางการญี่ปุ่นเคยใช้เงินกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ในพยุงค่าเงินเยนเมื่อช่วงปลายเดือนเม.ย.และต้นเดือนพ.ค.

ทางด้านข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯและความเห็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)เป็นไปอย่างผสมผสาน ทั้งนี้ จีดีพีไตรมาสแรกของสหรัฐฯขยายตัว 1.4% โดยปรับขึ้นจาก 1.3% ในการรายงานครั้งก่อน แต่ชะลอตัวลงจาก 3.4% ในไตรมาส 4/66 ส่วนดัชนีเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานเดือนพ.ค.ชะลอลงตามที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.6% ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 8,770 ล้านบาท และ 6,741 ล้านบาท ตามลำดับ อนึ่ง ในช่วงครึงปีแรกและไตรมาสที่ 2 เงินบาทอ่อนค่าลง 7.1% และ 1.0% ตามลำดับ

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่า ภาพรวมในสัปดาห์นี้ตลาดจะให้ความสนใจกับความเห็นประธานเฟดในงาน ECB Forum ดัชนี ISM ภาคการผลิตและการบริการ รายงานประชุมเฟด รวมถึงตัวเลขการจ้างงานเดือนมิ.ย.ของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับการเมืองยุโรปต่อไป โดยอังกฤษจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 4 ก.ค. ขณะที่ในฝรั่งเศสพรรคฝั่งชาตินิยมขวาจัดชนะเลือกตั้งรอบแรก

สำหรับปัจจัยในประเทศ นักลงทุนจะติดตามเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ของไทยซึ่งคาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อยจากที่เพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะลงมาต่ำกว่ากรอบเป้าหมายในไตรมาส 3 ก่อนที่จะกลับเข้ากรอบอีกครั้งตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ ธปท.ระบุว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปัจจุบันที่ 1-3% ทำหน้าที่ได้ดี ขณะที่นโยบายการเงินไม่ได้ทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำแต่เป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและสถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ โดยการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อจะต้องให้สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธปท.ยังเน้นย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เป็นกลาง แต่พร้อมจะปรับเปลี่ยนหากมีความจำเป็นตามปัจจัยที่จะเข้ามากระทบพื้นฐานเศรษฐกิจ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย