ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.83 ทรงตัวจากวานนี้ แนวโน้มแกว่งแคบรอปัจจัยใหม่ จับตาทิศทาง Flow

เผยแพร่ 28/06/2567 16:27
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.83 ทรงตัวจากวานนี้ แนวโน้มแกว่งแคบรอปัจจัยใหม่ จับตาทิศทาง Flow
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.83 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวใกล้ เคียงกับปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.84 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา โดยตลาดรอฟังเนื้อหาการดีเบตของผู้ สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะมีประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และช่วงค่ำจะมีการประกาศตัว เลขดัชนี PCE ของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดรอดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) ในช่วงสิ้นไตรมาสและช่วงครึ่งปี "ทิศทางบาทวันนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ ๆ รอปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.70 - 36.95 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.8600 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 160.67 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบ 38 ปี จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 160.52 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0707 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0691 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.926 บาท/ดอลลาร์ - "พิชัย" เร่งมาตรการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้าโตเกิน 3% เรียกถก "แบงก์รัฐ" ออกมาตรการแก้หนี้ เจาะรายเซ กเตอร์ ดันซอฟต์โลน 1 แสนล้าน หนุนดอกเบี้ยกู้ต่ำลง ปลดล็อกประวัติเครดิตบูโร ระบุระยะยาวรัฐต้องลงทุนเพิ่ม ไม่หวั่นขยายเพดานหนี้ สาธารณะหากเศรษฐกิจโตต่อเนื่อง ย้ำบิ๊กเทคโลกจ่อคิวเจรจาลงทุนในไทยทั้ง อีวี เซมิคอนดักเตอร์ และดาต้าเซนเตอร์ - รมว.คลัง เผยเร็ว ๆ นี้รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์มาเพิ่มเติม โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือ ร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะไม่ปล่อยให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน - ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก TDRI ประเมินเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้มีโอกาสจะเติบโตได้ ดีกว่าครึ่งปีแรก และคาดว่าทั้งปีจะเติบโตได้ราว 2.5-2.8% โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนของ ทั้งภาครัฐและเอกชน - ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) คาดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวได้ จากการเร่งใช้จ่ายงบ ประมาณภาครัฐ รวมถึงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและการขยายตัวของการส่งออก รวมทั้งทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้นักลงทุน ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น ทั้งหมดนี้จะหนุนให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ถึง 3% และปี 68 คาดว่าจะขยายตัวสูงกว่า 3% แต่สิ่งที่ น่ากังวลคือ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและหนี้นอกระบบตั้งแต่ช่วงโควิด หากรัฐมีมาตรการช่วยเหลือจะคลายความกังวลได้ ขณะที่ตลาด การเงินโลกกำลังเข้าสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จากที่คงอัตราดอกเบี้ยสูงมานาน ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นธนาคารกลางหลายประเทศสำคัญ ปรับลดดอกเบี้ยลงแล้ว โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกจะชัดเจนมากขึ้นใน 1 ปี 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะเห็นกำลังซื้อและการส่งออกดี ขึ้น - กระทรวงกิจการภายในญี่ปุ่นเปิดเผยวันนี้ (28 มิ.ย.) ว่า อัตราเงินเฟ้อในกรุงโตเกียวเร่งตัวขึ้นในเดือนมิ.ย. โดยได้ รับแรงหนุนจากราคาพลังงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าคาดในเดือนพ.ค. ซึ่งสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ความ เคลื่อนไหวดังกล่าวอาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนก.ค. - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 233,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 236,000 ราย - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตร มาส 1/2567 เมื่อวานนี้ (27 มิ.ย.) โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 1.4% ในไตรมาสดังกล่าว สูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ที่ระดับ 1.3% แต่ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 1.6% - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (27 มิ. ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา และทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 1% ในวันพฤหัสบดี (27 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงิน ดอลลาร์และการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาด การณ์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงานจะปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.7% ใน เดือนเม.ย. และคาดว่าดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อ เทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.8% ในเดือนเม.ย. - ทั่วโลกจับตาการประชันวิสัยทัศน์หรือการดีเบตระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ และนายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีต ประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อชิงคะแนนเสียงของชาวอเมริกัน ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะมีขึ้นในวันที่ 5 พ.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย