ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.67 แข็งค่าเล็กน้อย ให้กรอบ 36.55-36.85 จับตาดัชนี PCE สหรัฐ

เผยแพร่ 31/05/2567 16:22
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.67 แข็งค่าเล็กน้อย ให้กรอบ 36.55-36.85 จับตาดัชนี PCE สหรัฐ
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.67 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ ระดับ 36.79 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเช้านี้แข็งค่าเทียบท้ายตลาด หลังจากที่เมื่อคืนนี้ GDP ไตรมาส 1/67 ของสหรัฐฯ ปรับลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ปรับลดลง ซึ่งทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าเทียบทุกสกุลเงิน สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามวันนี้ คือ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย.ของสหรัฐฯ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.55 - 36.85 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.7400 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 156.68 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 157.00 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0824 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0809 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.902 บาท/ดอลลาร์ - บีโอไอย้ำประเทศไทยจุดหมายสำคัญของกลุ่ม Talent และชาวต่างชาติศักยภาพสูง ล่าสุดอนุมัติวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ผ่านศูนย์ One Stop Service 56,000 คน ทั้ง LTR Visa, Smart Visa และผู้เชี่ยวชาญต่างชาติที่ทำงานภายใต้โครงการที่ได้รับ การส่งเสริมการลงทุน - เจ้าสัว "บุณยสิทธิ์" วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจประเทศไทย เปรียบเหมือน "เศรษฐกิจหาเสียง" ไม่ได้มองระยะยาว แต่ หากปรับตัวและตรงจุดยังมีโอกาส ชี้ปรับค่าแรงขั้นต่ำหนุนต่างชาติเข้าทำงานไทยมากขึ้น มองดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว - กระทรวงการคลัง จะเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการแก้ไขกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในสัปดาหืหน้า ทั้งนี้จะช่วย สร้างความเป็นธรรมให้กับภาคประชาชน เอกชนที่นำเข้า ผู้นำเข้า ผู้ผลิตสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SME) ของไทย - ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจ ไทยในเดือนเมษายน 2567 ขยายตัวต่อเนื่อง ในภาคการท่องเที่ยว มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากการส่งออกสินค้า และการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรดี การบริโภคสินค้าคงทนยังไม่ฟื้นตัวเต็ม ที่ ประกอบกับผลผลิตภาคเกษตรยังคงหดตัวจากเดือนก่อน ดังนั้น ต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผล กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าคงทน และปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิดต่อไป - เอกชนไทย-ต่างชาติ ส่งสัญญาณลงทุน "แลนด์บริดจ์" พบบิ๊กคอร์ปไทย กลุ่มอมตะ WHA สยามพิวรรธน์ ร่วมเวทีรับฟังความ เห็นออกแบบโมเดลการลงทุน ขณะที่กลุ่มจีน ญี่ปุ่น ดูไบ สำรวจพื้นที่จริง "คมนาคม" เร่งเข็น พ.ร.บ.SEC เข้าสภา ภายในปีนี้ หวังเปิด ประมูลปี 68 ดันลงทุน 1 ล้านล้านบาท - กระทรวงกิจการภายในของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เงินเฟ้อในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. ส่งผลให้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2567 โดยระบุว่า GDP ไตรมาส 1 ขยายตัว 1.3% ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งแรกที่ระดับ 1.6% โดยเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 3,000 ราย สู่ระดับ 219,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 218,000 ราย - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (30 พ. ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 1% ในวันพฤหัสบดี (30 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการชะลอตัวของอัตราผลตอบ แทนพันธบัตรและสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้ (31 พ.ค.) อย่าง ใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่อง จากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย