InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.74 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.64/65 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.61 - 36.76 บาท/ดอลลาร์ โดยทิศทางเงินบาทอ่อนค่าตามสกุลเงินอื่นๆ ใน ภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ "เงินบาทวันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่ เคลื่อนไหวอ่อนค่าตามทิศทางภูมิภาค ช่วงนี้ ยังต้องติดตามถ้อยแถลงจากเจ้าหน้าที่เฟด" นัก บริหารเงิน ระบุ โดยคืนนี้ ฝั่งสหรัฐฯ จะมีการรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และช่วงปลาย สัปดาห์นี้ จะมีการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2567 (ประมาณการ ครั้งที่ 2) นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.60 - 36.80 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.16 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 157.24/25 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0854 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0851/0852 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,349.83 จุด ลดลง 12.87 จุด (-0.94%) มูลค่าซื้อขาย 44,190.72 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,563.05 ล้านบาท - โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินในช่วงครึ่งแรกของ ปี 2568 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลไทยวางแผนใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการขยาย ตัวของเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งช่วยลดแรงกดดันในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้กับ ธปท. - กระทรวงการคลัง เตรียมนัดหารือร่วมกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ถึงแนวทางและหลักเกณฑ์ในการฟื้นกองทุนรวม หุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อกระตุ้นให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง - นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาในงาน UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024 ณ เขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง หัวข้อ "Wisdom: An eye on the past, a view to the future" ซึ่งได้นำเสนอนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล รวม ถึงวิสัยทัศน์ต่ออนาคตของประเทศไทย พร้อมย้ำความพร้อมสู่การเปิดประตูต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ - รมว.คลัง พร้อมรับฟังคำเตือนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และจะไปพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ หลัง ธปท.แสดงความเป็นห่วงจากที่รัฐบาลปรับแผนการคลังระยะปานกลาง โดยเพิ่มวงเงินงบรายจ่ายปี 67 อีก 1.22 แสนล้านบาท ซึ่ง อาจกระทบเสถียรภาพการคลัง และการจัดการกับความเสี่ยงทางการคลังที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะหนี้สาธารณะที่ใกล้จะชน เพดานที่ 70% - เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุด เมื่อเทียบกับเงินยูโรในรอบเกือบ 2 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) - หนึ่งในกรรมการบริหารของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากการ อ่อนค่าอย่างหนักของเงินเยน ผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น หรือหากสาธารณชนมีมุมมองว่า เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงมากกว่าคาดในอนาคต - สหรัฐอเมริกาพบการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในอัลปากาเป็นครั้งแรก ขณะที่เชื้อไวรัสยังคงแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในโค นม และมีคนติดเชื้อแล้ว 2 ราย - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.ของออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมา จากการปรับตัวขึ้นของต้นทุนราคาน้ำมัน, สุขภาพ และค่าใช้จ่ายในวันหยุด ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย อาจจะ ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้