ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.64/65 แนวโน้มอ่อนค่า ตลาดจับตาดัชนี PCE สหรัฐปลายสัปดาห์นี้

เผยแพร่ 29/05/2567 16:09
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.64/65 แนวโน้มอ่อนค่า ตลาดจับตาดัชนี PCE สหรัฐปลายสัปดาห์นี้
USD/JPY
-
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.64/65 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.63/64 บาท/ดอลลาร์ โดยเมื่อคืนนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา อย่างไรก็ดี แนวโน้มเงินบาทยังอ่อนค่าเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ และคาดว่าจะอ่อนค่าได้อีก โดยตลาดรอดูดัชนีราคาการใช้ จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย. ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์เป็นหลัก นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.60 - 36.70 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.6250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 157.24/25 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 156.93/96 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0851/0852 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0873/0877 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.570 บาท/ดอลลาร์ - รัฐบาลปรับแผนการคลังระยะปานกลางเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปี 67 หาวงเงินโปะนโยบายแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอ ลเล็ต ผวาสัญญาณอันตราย!! ปรับลดคาดการณ์จีดีพีหรือการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยลง 4 ปีรวด ตั้งแต่ปี 68-71 ทั้งที่วางแผนทำงบ ประมาณขาดดุลเพื่ออัดเงินเข้าระบบถึงปีงบประมาณปี 71 ดันหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี - รมช.คลัง เปิดเผยถึงประเด็นเรื่องการนำเงินนอกงบประมาณมาใช้เสริมว่า ได้มีการแสดงความเห็นกันอย่างหลากหลาย ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะเม็ดเงินนอกงบประมาณมีจำนวนมาก ขณะที่สำนักงบประมาณ ชี้แจงว่าการจัดสรรงบประมาณเป็น ไปตามกรอบของกฎหมาย แต่ก็พร้อมรับข้อเสนอดังกล่าว เพื่อที่จะดูว่าในอนาคตจะสามารถดึงเงินนอกงบประมาณมาช่วยแบ่งเบาภาระของ รัฐบาลได้หรือไม่ แต่ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมด ต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย - คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการและแนวทางการตรวจลงตรา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ ของประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 67 มีมูลค่า 3.26 แสน ล้านบาท หดตัว 1.5% จากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า ภาวะอากาศแปรปรวนกระทบผลผลิตทุเรียนไทย นักลงทุนบางรายย้ายฐานการผลิตโซ ลาร์เซลล์ไปเวียดนามทำให้ไทยส่งออกสินค้าดังกล่าวได้น้อยลง สินค้าเทคโนโลยีไทยส่งออกได้ลดลง เช่น คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า วงจรพิมพ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งกำลังซื้อของประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ - ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาห กรรมเกษตรในไตรมาส 1 ปี 67 อยู่ที่ 11,880 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ หรืออยู่ที่ 4.2 แสนล้านบาท ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 0.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 3.7% โดยสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ไก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหาร ทะเลกระป๋องและแปรรูป ส่วนสินค้าที่หดตัวแรง ได้แก่ มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย - ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยผลการสำรวจในวันอังคาร (28 พ.ค.) ว่า ผู้บริโภคในยูโรโซนลดการคาดการณ์ เงินเฟ้อในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่ ECB กำลังวางแผนจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง - Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 102 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 97.5 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 95.9 - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (28 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุน เข้าซื้อดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาดหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น - หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาดของบริษัท LPL Financial กล่าวว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้นแตะ ระดับสูงสุดในรอบหลายสัปดาห์ หลังจากผลการประมูลพันธบัตรบ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอ โดยตลาดไม่ต้องการเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่ง ขึ้นจนถึงระดับที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและผู้บริโภค และส่งผลกระทบต่อช่วงเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) - ประธานเฟดสาขามินนีแอโพลิส กล่าวว่า ต้องการเห็นข้อมูลเพิ่มเติมอีกหลายเดือนเพื่อให้มั่นใจว่าเงินเฟ้ออยู่ในทิศทางที่ ชะลอตัวลงก่อนที่จะสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย และไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากแรงกดดันด้าน เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นอีก -สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (28 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับ ตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาใน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) - นักวิเคราะห์จากเอเอ็นแซด (ANZ) กล่าวว่า ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำในฐานะ สินทรัพย์ที่ปลอดภัย และอุปสงค์ทองคำในประเทศจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นราคาทองพุ่งขึ้นเช่นกัน - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนี PCE ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ (31 พ.ค.) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลด อัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม ของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย