ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.17 อ่อนค่าตามภูมิภาค รับเม็ดเงินไหลออกตลาดพันธบัตร

เผยแพร่ 16/02/2567 00:42
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.17 อ่อนค่าตามภูมิภาค รับเม็ดเงินไหลออกตลาดพันธบัตร
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.17 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดเมื่อ เช้าที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.06 - 36.20 บาท/ ดอลลาร์ โดยวันนี้มีเงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดพันธบัตรราว 2.1 พันล้านบาท "บาทอ่อนค่าตามภูมิภาค ระหว่างวันไปแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 เดือนเหมือนเมื่อวาน" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.00 - 36.20 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีการประกาศตัว เลขยอดค้าปลีกเดือน ม.ค.ของสหรัฐฯ และตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ 149.95 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 150.31 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0735 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0726 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,387.27 จุด เพิ่มขึ้น 2.16 จุด, +0.16% มูลค่าซื้อขาย 42,027.58 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,352.36 ล้านบาท - บลจ.กรุงศรี คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มขยายตัว 3.7% (ไม่รวมผลจากนโยบาย Digital Wallet) โดยการ บริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัว 3.8% ภาคการส่งออกมีแนวโน้มเติบโต 5.3% ขณะที่เงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.47% ในปีนี้ จากระดับ 1.3% ในปีที่แล้ว - เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเหนือความคาดหมาย หลังจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัว ลงติดต่อกัน 2 ไตรมาสเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศอ่อนแอลง ทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียสถานะการเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับ 3 ของโลกให้กับเยอรมนี - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจญี่ปุ่น (Japan Center for Economic Research) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มหดตัวลง อีกในไตรมาส 1/2567 หลังจากที่มีการหดตัวอย่างเหนือความคาดหมายในไตรมาส 4/2566 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ ภาวะชะงักงันและสร้างความกังวลให้กับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) - สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษเปิดเผยรายงานเบื้องต้นในวันนี้ (15 ก.พ.) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2566 ของอังกฤษหดตัวลง 0.3% และเป็นการหดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษเข้า สู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคแล้ว - ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณสภาคองเกรส (CBO) เตือนว่า หนี้สินของสหรัฐและค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยนั้น อาจจะกลาย เป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจสหรัฐ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย