InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.50 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.53 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.43 - 35.60 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทค่อนข้างทรงตัวจากช่วงเปิด โดยช่วง เช้าเงินบาทอ่อนค่า เนื่องจากเมื่อคืน มีการเปิดเผยรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ทำให้อัตราผลตอบแทน พันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นมา ส่วนช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าไปแตะ 35.60 บาท/ดอลลาร์นั้น มี Flow จากผู้ส่งออกทำให้บาทอ่อนค่า ทั้งนี้ 35.60 บาท/ดอลลาร์ ยังคงเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนครึ่ง ด้านสกุลเงินในภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวแบบผสม สำหรับคืนนี้ ตลาดรอติดตามจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.35 - 35.60 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 146.21 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 146.42 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0870 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0863 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,528.81 จุด เพิ่มขึ้น 9.25 จุด (+0.61%) มูลค่าการซื้อขาย 53,037.12 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 939.63 ลบ. (SET+MAI) - นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เคาะประชุมรัฐสภาโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 ในวันที่ 22 ส.ค. นี้ โดยนัดลงมติเวลา 15.00 น. - กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขในช่วง 7 เดือนปี 66 (ม.ค.-ก.ค.) ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุน ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 377 ราย เพิ่มขึ้น 17% จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 58,950 ล้านบาท ลดลง 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการจ้างงานคน ไทย 3,594 คน โดยต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยสูงสุด คือ ญี่ปุ่น - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.66 จนถึงล่าสุด ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมทั้ง สิ้น 16,472,557 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 689,883 ล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก มาจากประเทศมาเลเซีย รองลงมาคือ จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมในวันพุธ (16 ส.ค.) โดยระบุว่า กรรมการเฟดมีความ เห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต โดยกรรมการเฟดส่วนหนึ่ง แสดงความกังวลว่าการที่ เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปนั้น อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับความเสี่ยง แม้กรรมการเฟดส่วนใหญ่ยังคงให้ความ สำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อ โดยกล่าวว่าแม้เงินเฟ้อเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง แต่ก็ยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% - ฟิทช์ เรทติ้งส์ ทบทวนตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในระยะกลาง ของประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว จำนวน 10 ประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐ อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น พร้อมเตือนว่าอาจจะทบทวนปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของจีน จาก A+ สู่ระดับ A เนื่องจากอัตราส่วนหนี้สินต่อตัวเลข GDP ของจีนปรับตัวสูงขึ้น - มอร์แกน สแตนลีย์ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 67 โดยระบุว่าการลงทุนภายในประเทศ อ่อนแอลง เนื่องจากการทรุดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการที่รัฐบาลท้องถิ่นของจีนเผชิญกับแรงกดดันด้านการเงิน - นายกรัฐมนตรีจีน และประธานคณะมนตรีแห่งรัฐ เปิดเผยว่า รัฐบาลจะดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทาง เศรษฐกิจในปีนี้ โดยเน้นขยายอุปสงค์ และการบริโภคในประเทศ - ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย กำลังพยายามสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบเกี่ยวกับสกุลเงินคริปโทเคอร์ เรนซี ท่ามกลางความคลุมเครือด้านกฎระเบียบในสหรัฐ ซึ่งอาจทำให้ภูมิภาคเอเชียมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นสำหรับนักลงทุน