บลูมเบิร์กเผยไทยผลักดันใช้เงินหยวน-เงินเอเชียทำการค้า หวังลดความผันผวนเงินบาท

เผยแพร่ 08/08/2566 19:03
© Reuters.  บลูมเบิร์กเผยไทยผลักดันใช้เงินหยวน-เงินเอเชียทำการค้า หวังลดความผันผวนเงินบาท

InfoQuest - สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วางแผนที่จะผลักดันการใช้เงินหยวนและสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชียในการทำธุรกรรมด้านการค้าและการลงทุน โดยมีเป้าหมายที่จะลดความผันผวนของสกุลเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธปท.คาดการณ์ว่าจะมีการใช้สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากสกุลเงินเหล่านี้มักจะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินบาท

นางอลิศรากล่าวว่า ในขณะที่ความพยายามของไทยในการส่งเสริมสกุลเงินต่าง ๆ ที่นอกเหนือไปจากดอลลาร์เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้วนั้น แต่ความพยายามนั้นเพิ่มขึ้นในขณะนี้ โดยได้แรงหนุนจากการทำข้อตกลงระดับทวิภาคีระหว่างธนาคารกลาง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน

นางอลิศรายังกล่าวด้วยว่า ไทยซึ่งต้องพึ่งพาการค้าและการท่องเที่ยวนั้น เป็น 1 ในหลายประเทศที่ใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแข็งค่าของดอลลาร์ซึ่งทำให้สกุลเงินของประเทศอื่น ๆ อ่อนค่าลงและกลายเป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันธปท.กำลังร่วมมือกับธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย รวมถึงจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในประเทศ และคาดว่าจะเห็นความคืบหน้ามากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนดี

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของธปท.เกิดขึ้นในขณะที่ทั่วโลกพยายามลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์ โดยเมื่อไม่นานมานี้ จีนได้ลงนามในข้อตกลงหลายฉบับเพื่อกระตุ้นการค้าในรูปสกุลเงินหยวน ขณะที่อินเดียกำลังส่งเสริมค่าเงินรูปี และหลายประเทศตั้งแต่บราซิลไปจนถึงอาร์เจนตินากำลังมองหาทางเลือกอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากสกุลเงินดอลลาร์

ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้น 3% ซึ่งแข็งแกร่งที่สุดในบรรดาประเทศขนาดใหญ่ของเอเชีย หลังจากที่บาทอ่อนค่าลงติดต่อกัน 3 เดือนก่อนหน้านี้

"ความผันผวนของดอลลาร์/บาทปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ดังนั้นธปท.จึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับความผันผวนดังกล่าว" นางอลิศรากล่าวกับบลูมเบิร์ก

นอกจากนี้ นางอลิศราเปิดเผยว่า การค้าในรูปสกุลเงินหยวนกับจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าและการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของไทยนั้น เพิ่มขึ้น 1.2% ในปี 2565 จากระดับ 0.3% ของการค้าโดยรวมในปี 2558 แต่ขณะนี้มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะใช้เงินหยวนในการทำการค้ากับจีนมากขึ้น หลังจากที่จีนได้ผ่อนคลายกฎระเบียบ และบริษัทต่าง ๆ เริ่มเปิดกว้างมากขึ้นในการแสวงหาทางเลือกใหม่เพื่อลดความเสี่ยงของค่าเงิน

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย