💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.30-35.00 จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ

เผยแพร่ 07/08/2566 19:14
© Reuters.  BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.30-35.00 จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.30-35.00 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 34.74 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 34.18-34.79 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์

ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bp เป็น 2.25% ตามคาด เงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ ที่สดใสเกินคาด ขณะที่แบบจำลอง GDPNow ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตาประเมินว่า จีดีพีสหรัฐฯ อาจขยายตัว 3.9% ในไตรมาสนี้ แม้เฟดขึ้นดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวนับตั้งแต่เดือนมี.ค.65

นอกจากนี้ ข่าวที่ว่าฟิทช์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ จาก AAA สู่ AA+ กดดันสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกและหนุนดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวทั่วโลกกระชากขึ้น หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ปรับมาตรการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนให้ยืดหยุ่นมากขึ้นในสัปดาห์ก่อนหน้า รวมถึงแผนกู้เงินที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ

ด้านธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ขึ้นดอกเบี้ย 25bp สู่จุดสูงสุดรอบ 15 ปีที่ 5.25% พร้อมเตือนว่าดอกเบี้ยอาจจะอยู่ที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อสูง ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 7,790 ล้านบาท และ 23,775 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ฯ ระบุว่า ตลาดจะให้ความสนใจกับข้อมูลเงินเฟ้อเดือน ก.ค.ของสหรัฐฯ เพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ยเฟดต่อไป หลังตำแหน่งการจ้างงานนอกภาคเกษตรต่ำกว่าคาด แต่อัตราการเติบโตของค่าจ้างยังแข็งแกร่ง ทั้งนี้ กรุงศรีมองว่าความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อาจจำกัดแรงขายดอลลาร์ในระยะนี้ แม้เรายืนยันมุมมองที่ว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า บนสมมติฐานดอกเบี้ยเฟดสิ้นสุดทางขึ้นและเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ soft landing

ส่วนปัจจัยในประเทศ คาดว่า กนง.ขึ้นดอกเบี้ยด้วยมติเอกฉันท์ โดยเห็นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวสู่ศักยภาพและ กนง.ต้องการรักษา policy space สำหรับอนาคต แต่การประเมินว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น และดอกเบี้ยนโยบายเข้าใกล้ระดับเป็นกลางมากขึ้น สนับสนุนมุมมองของเราที่ว่าความจำเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยอีกมีน้อยลง นอกจากนี้ กรุงศรีมองว่าภาพทางการเมืองที่ขาดความชัดเจน อาจฉุดรั้งความต้องการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินบาทในช่วงนี้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย