InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.97 บาท/ดอลลาร์ ปรับ ตัวอ่อนค่าจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 34.82 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้ เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 9 สัปดาห์ ทำนิวไฮของปีนี้ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคและตลาด โลก เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ออกมาสูงเกินคาด ทำให้ตลาดคาด การณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องถึง 3 ครั้ง วันนี้เป็นช่วงปลายเดือน ต้องรอดูทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ต่างชาติขายหุ้นต่อเนื่อง และ การซื้อขายดอลลาร์จากผู้ส่งออกและนำเข้า "บาทอ่อนค่าจากเย็นวันศุกร์ไปมาก หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาสูงเกินคาด ทำให้ตลาดกลับมาถือครองดอลลาร์ เพราะห่วงเรื่องเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกหลายครั้ง ทิศทางบาทน่าจะยังคงผันผวน" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.90 - 35.15 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (24 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 1.37027% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.59901%
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 136.31 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 135.08/09 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0549 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0591/0593 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.792 บาท/ ดอลลาร์ - ธนาคารกสิกรไทย (BK:KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์นี้ไว้ที่ระดับ 34.50-35.30 บาท/ ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินลงทุนของต่างชาติ (Flow) และการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเอเชีย ตัว เลขการส่งออกและรายงานเศรษฐกิจการเงินเดือน ม.ค.ของไทย - ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการ ขายเดือนม.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค, ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนก.พ. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ ว่างงาน - นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ข้อมูล PMI ภาคการผลิต/บริการเดือนก.พ. ของ จีน ยูโรโซน และอังกฤษ และอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.ของยูโรโซนด้วย - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวัน ศุกร์ (24 ก.พ.) หลังจากการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่พุ่งขึ้นเกินคาด จะเป็นปัจจัยหนุน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (24 ก.พ.) โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการดีดตัว ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่สูงเกินคาด ซึ่งทำให้บรรดานักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนานกว่าที่คาดไว้ - นางคริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยธนาคารกลางทั่วโลกยัง คงต้องเฝ้าระวังจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ภายใต้การควบคุมได้อย่างมีเสถียรภาพ - นักลงทุนยังคงจับตาความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในวันนี้ โดยนายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งผู้ ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะแถลงต่อวุฒิสภาญี่ปุ่นในวันนี้ - รัฐมนตรีคลังกลุ่ม G20 ยังไม่สามารถบรรลุฉันทามติเกี่ยวกับการอธิบายสงครามในยูเครน และมีแนวโน้มที่จะยุติการ ประชุมที่อินเดียในวันนี้ (25 ก.พ.) โดยไม่มีการออกแถลงการณ์ร่วมแต่อย่างใด