Investing.com - ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในวันจันทร์ เนื่องจากผลกระทบจากพายุเฮอริเคนเออร์มาน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ยังคงส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานและผลกระทบทางเศรษฐกิจในเบื้องต้นด้วย โดยที่ Goldman Sachs คาดการณ์ว่าผลกระทบจากพายุจะลด GDP ในไตรมาส3 ที่บริษัทเคยคาดการณ์ไว้ลง 1% ในขณะที่ข้อมูลยอดสั่งซื้อเครื่องจักรรายเดือนของประเทศญี่ปุ่นมีตัวเลขยอดสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง
การไฟฟ้าท้องถิ่นสหรัฐฯกล่าวว่า พายุเฮอร์ริเคนเออร์มาได้เข้าโจมตีรัฐฟลอริดาในวันอาทิตย์ ส่งผลให้ครัวเรือนและธุรกิจมากกว่า 2.4 ล้านแห่งเสียหาย และได้คุกคามประชากรอีกนับล้านขณะที่พัดเข้าเขตตะวันตกของรัฐ การกลับมาให้บริการของธุรกิจเต็มรูปแบบจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์
แต่หลังจากที่พายุเฮอริเคนเออร์มาเข้าโจมตีฟลอริดาเมื่อเช้าวันอาทิตย์ด้วยความรุนแรงประเภท 4 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นอันดับ2ใน5ระดับของ Saffir-Simpson พายุก็ได้อ่อนแรงไปอยู่ระดับ 2 โดยมีลมกระโชกแรงสูงสุดเพียง 110 ไมล์ต่อชั่วโมง (177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ญี่ปุ่นรายงานคำสั่งซื้อเครื่องจักรหลักประจำเดือนกรกฎาคมพุ่งขึ้น 8.0% เดือนต่อเดือน สูงกว่าการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 4.4% เดือนต่อเดือน และลดลง 7.5% ปีต่อปี เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 7.3% ปีต่อปี
ขณะที่ USD/JPY มีการซื้อขายที่ระดับ 108.45 เยนต่อดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.58% ในขณะที่ AUD/USDซื้อขายที่ระดับ 0.8041 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย ลดลง 0.17%
Dollar Indexซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์ต่อตะกร้าเงินสกุลหลัก 6 สกุล เพิ่มขึ้น 0.24% มาอยู่ที่ 91.53
ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะติดตามรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในวันพฤหัสบดีเพื่อดูความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของเฟด การประกาศนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะได้รับความสนใจ เช่นเดียวกับยอดการผลิตเชิงอุตสาหกรรมในประเทศจีน
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่งเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลักอื่นๆ ท่ามกลางความวิตกว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ได้หรือไม่
สิ้นสัปดาห์ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ร่วงลง 1.55% ซึ่งนับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ความคาดหวังที่ลดลงสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สามในปีนี้ ประกอบกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในกรณีของเกาหลีเหนือและความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากพายุเฮอร์ริเคนในฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงวอชิงตันยังส่งผลต่อความอ่อนแอของสกุลเงินดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา สัญญาเกี่ยวกับการเลื่อนการเจรจาเพดานหนี้สหรัฐฯไปจนถึงในเดือนธันวาคม ซึ่งจะสอดคล้องกับการประชุมนโยบายของเฟดทำให้โอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลดลง
สิ้นสัปดาห์ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับสกุลเงินญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตัวเลขรายสัปดาห์ที่แข็งค่ามากสุดในรอบ 13 เดือน
อุปสงค์ต่อสกุลเงินยูโรยังคงหนุนต่อเนื่อง หลังจากที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสฯว่าธนาคารอาจเริ่มลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้
เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อผลผลิตอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักรเติบโตได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้