3 ประเด็นที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 3 ส.ค.)

เผยแพร่ 03/08/2563 14:46
อัพเดท 03/08/2563 14:53
© Reuters.
XAU/USD
-
USD/THB
-
GC
-
SETI
-

โดย Detchana.K

Investing.com - นักลงทุนทองคำในประเทศส่วนใหญ่มองว่า ราคาทองคำในไทยสัปดาห์นี้ยังอยู่ในช่สวงขาขึ้น หลังจากปิดตลาดรายสัปดาห์เมื่อสัปดาห์ก่อนในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน และปิดตลาดในเดือนก.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นเกือบ +11% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นในรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปี 2016 อีกทั้งทองคำยังพุ่งขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 1,984.22 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างการซื้อขายของวันศุกร์ ท่ามกลางแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจากความวิตกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ หลังจากในสัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐเปิดเผย GDP ไตรมาส 2 ที่หดตัวรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 70 ปี ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญสำหรับนักลงทุนไทยวันนี้

1. นักลงทุนทองคำ 70% คาดราคาทองยังขาขึ้นในสัปดาห์นี้ แนะจับตาประชุม กนง.คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50%

ศูนย์วิจัยทองคำ เผยผลสำรวจทิศทางราคาทองคำในประเทศรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 3 – 7 ส.ค. 63 ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำ 14 ท่าน ที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 4 ราย หรือ 29% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 7 ราย หรือเทียบเป็น 50% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ผลจากนักลงทุนทองคำ ที่ร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 344 ราย ในจำนวนนี้มี 241 ราย หรือเทียบเป็น 70% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 44 ราย หรือเทียบเป็น 13% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 59 ราย หรือเทียบเป็น 17% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สถานการณ์ราคาทองคำในประเทศ ราคาทองคำแท่งสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 28,600 – 29,300 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 29,000 บาท ต่อบาททองคำ ปรับเพิ่มขึ้น 600 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 28,400 บาท)

ราคาทองคำ SPOT XAU/USD
ดูความเคลื่อนไหวราคาทองคำ Gold Spot ล่าสุดได้ที่
https://th.investing.com/currencies/xau-usd

สำหรับนักลงทุนโกลด์ฟิวเจอร์ส อัพเดตราคา>> สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ล่าสุด
https://th.investing.com/commodities/gold

ปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตาม คือยอดผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ในรัฐต่างๆ ของสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเหตุให้สภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยิ่งแย่ลง และแนะนำติดตามรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ เช่น ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง เดือน กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 5 สิงหาคม

2. เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.95-31.40 ต่อ ดอลลาร์

สัปดาห์นี้ คาดว่าคณะกรรมการนโยบาย การเงิน(กนง.)จะมีมติคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในการประชุมวันที่ 5 ส.ค. โดยศูนย์วิจัยกรุงศรี มองว่ากนง.จะเน้นย้ำความไม่แน่นอนต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไปและพร้อมจะใช้ เครื่องมือที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจําเป็น แม้ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/63 แต่สถานการณ์ยังคงเปราะบาง และผลกระทบเชิงลบจาก COVID-19 มีแนวโน้มลากยาว ขณะที่ความเสี่ยงด้านขาลงของเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับสูง

ค่าเงินบาท USD/THB สัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.95-31.40 ต่อ ดอลลาร์ โดยตลาดจะติดตามข้อมูลเศรษฐกิจสําคัญจากสหรัฐฯหลายรายการ อาทิ ดัชนีภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการจ้างงานนอกภาคเกษตร นอกจากนี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจกับการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)ใน วันที่ 6 ก.ค. และความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้น ทางการคลังชุดใหม่ของสหรัฐฯ ทั้งนี้แม้ว่าจะเกิดแรงซื้อคืนดอลลาร์ทางเทคนิคเมื่อท้ายสัปดาห์ก่อน แต่ในภาพรวม แนวนโยบายของเฟดและประเด็นทางการเมืองในสหรัฐฯอาจ จํากัดการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์ ทั้งนี้ประธานเฟดแสดง ความกังวลต่อยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่ยังคง เพิ่มขึ้น โดยเฟดให้คํามั่นว่าจะใช้ทุกมาตรการที่สามารถทําได้ และจะคงดอกเบี้ยไว้เป็นเวลานานตราบเท่าที่จําเป็นเพื่อ ประคองเศรษฐกิจ

3. คาดตลาดหุ้นไทยเดือนนี้ยังผันผวน และมี Downside

บล .Asia wealth คาดว่าSET INDEX ในเดือน ส.ค. ยังผันผวน และมี Downside แม้จะเชื่อว่าจุดต่่าสุดของ GDP ไทยจะอยู่ในช่วง 2Q63 แต่การฟื้นตัวยังคงถูกจำกัด จากความไม่แน่นอนของภาพรวมเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามประเมินว่า สถิติทางด้านเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่เริ่มอ่อนแอลงอีกครั้ง จะเป็นปัจจัยหนุนให้สหรัฐฯ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ จะยิ่งเป็นปัจจัยหนุนให้มีสภาพคล่องในตลาดหุ้น ไทยและภูมิภาค รวมทั้งตลาด commodity

โดย SET Index ในเดือน ส.ค. ประเมิน Down-side ไว้ที่ 1,212 จุด (15.2xFwdPER/EPS Bt80) และ Upside อยู่ที่ 1,364 จุด (17.1xFwdPER/EPS Bt80)

ขณะที่ ธปท. คาด GDP ช่วง 2Q63 มีโอกาสหดตัวมากกว่าช่วง 2Q41 ที่หดตัว 12.5% - รายงานของ ธปท. ระบุ GDP ของไทยช่วง 2Q63 มีโอกาสหดตัวมากกว่า 2Q41 ที่หดตัว 12.5% เป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอลง ทำให้คาดว่าประมาณการ GDP ของไทยในปี 2563 ที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ -8.1% ยังมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ธปท. รายงานเศรษฐกิจ มิ.ย. เริ่มฟื้นตัวชัดเจน หลังคลายล็อกดาวน์ ทำให้สถิติทางด้านเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย. หดตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะภาคการส่งออก การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน แต่การฟื้นตัวยังถูกจำกัดจากภาคท่องเที่ยวที่ยังหดตัวสูง

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย