โดย Detchana.K
Investing.com - ศูนย์วิจัยกรุงศรีเผยรายงานเศรษฐกิจไทยประจำสัปดาห์นี้ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยชี้เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงโน้มไปทางด้านต่ำอยู่ หากมีความ จำเป็นพร้อมลดดอกเบี้ยลงอีก
จากการคาดการณ์เศรษฐกิจของธปท.ล่าสุด คาดกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัวที่ 8.1% โดยเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วใน ไตรมาส 2 และกำลังทยอยฟื้นตัวในไตรมาส 3 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงที่จะโน้มต่ำกว่าที่คาดได้อีก เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงของการแพร่ระบาดระลอกสองของโควิด-19 ในประเทศ ซึ่งหากกลับมาระบาดเป็นวงกว้างจนทำให้ไทยต้องกลับมาใช้มาตรการล๊อคดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้ง จุดต่ำสุดอาจขยับมาเป็นไตรมาส 3 ความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงินด้วยการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไปจึงอาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงรัฐบาลอาจต้องก่อหนี้มากกว่าปัจจุบันที่ตั้งไว้ 1 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดี เบื้องต้นธปท.ประเมินว่าการระบาดรอบสองในไทยหากเกิดขึ้นจะอยู่ในวงจำกัดและไทยมีศักยภาพความสามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ได้
ศูนย์วิจัยกรุงศรีประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มที่จะหดตัวลึกถึง 10.3% เนื่องจากความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด อีกทั้งผลกระทบทางลบที่ส่งต่อเป็นทอดๆ ไปยังภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะการจ้างงานที่ลดลงมากจนกระทบต่อรายได้ภาคครัวเรือนและความสามารถในการใช้จ่ายของประชาชน
โดยสถานการณ์ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชือ้ ทั่วโลกยังมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ล่าสุดเกินกว่า 14 ล้านคน) รวมทั้งความเสี่ยงของการเกิดการระบาดรอบสองในหลายประเทศ อาจทำ ให้การบังคับใช้มาตรการห้ามเที่ยวบินระหว่างประเทศนานกว่าที่คาดไว้ซึ่ง จะส่งผลกระทบต่อภาคท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ขณะที่ไทยเป็นประเทศทีพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเปราะบางมากจากผลกระทบของโควิด-19
โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยในปี 2563 จะติดลบหนักถึง 83% นอกเหนือจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่ฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้แล้ว ยังมีปัจจัยลบจากภัยแล้งที่รุนแรงและความล่าช้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ผลเชิงบวกจากมาตรการด้านการคลังและการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินที่ประกาศออกมา ยังไม่สามารถกระตุ้นให้การบริโภคและการลงทุน กลับมาสู่ระดับเดิมได้ในปีนี้หรืออัตราการเติบโตของ GDP ในรูปของ %YoY น่าจะติดลบตลอดถึง Q1 ปีหน้า
นอกจากสถานการณ์ความเสี่ยงการเกิดการระบาดระลอกสองของ โควิด-19 ในประเทศซึ่งนับเป็นประเด็นทีต่้องติดตามแล้ว สถานการณ์รอยต่อของนโยบายการเงินและนโยบายการคลังในช่วงปรับเปลี่ยนผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจของประเทศทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หากมีความไม่แน่นอนหรือไม่ชัดเจน อาจเพิ่มความเสี่ยง ให้กับเศรษฐกิจในช่วงที่กำลังเปราะบาง
ที่มา ศูนย์วิจัยกรุงศรี