3 เรื่องที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 20ก.ค.)

เผยแพร่ 20/07/2563 14:20
© Reuters.
XAU/USD
-
USD/THB
-
GC
-
BBL
-
BAY
-
KBANK
-
KTC
-
SCBB
-
TISCO
-

โดย Detchana.K

Investing.com - ยอดการส่งออกและนำเข้าในเดือนมิถุนายนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นกว่าเดือนพฤษภาคม โดยตลาดมองว่า ยอดส่งออกจะหดตัวราว 15%จากปีก่อนหน้า ดีขึ้นจากที่ลดลงกว่า 23%ในเดือนก่อน หนุนโดยภาพเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มดีขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown  อย่างไรก็ตาม นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ในกรณีพื้นฐานน่าจะปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิดในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในช่วงไตรมาสสอง แต่เศรษฐกิจยังมีความเปราะบางและความไม่แน่นอนอยู่มากในอนาคต ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นที่นักลงทุนไทยควรติดตามในวันนี้

1. แบงค์ชาติคาดเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวสู่ภาวะปกติก่อนเกิดโควิดในครึ่งหลังปี 2565

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาดของ COVID-19 ได้ในปี 65 และต้องรักษาขีดความสามารถในการดําเนินนโยบายไว้ใช้ หากสถานการณ์เลวร้ายลงจากความไม่แน่นอนสูง ขณะที่ทางการจะดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนมากเกินไป และกําลังศึกษามาตรการ Yield Curve Control

ธปท.ระบุ ในจดหมายเปิดผนึกชี้แจงการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อ ออกนอกกรอบเป้าหมายว่านโยบายการเงินยังต้องผ่อนคลายต่อไป โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ -0.9% ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน มองว่าเงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าในระยะนี้ท่ามกลางปัจจัยความไม่แน่นอนซึ่ง รวมถึงการรับมือความเสี่ยงของการแพร่ระบาดรอบสองและความคลุมเครือของการจัดสรรทีมเศรษฐกิจชุดใหม่

ด้านเงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 31.71 ต่อดอลลาร์  USD/THB หลังซื้อขายในกรอบ 31.24-31.76 โดยเงินบาทยังคงเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่อง และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 1.2 พันล้านบาท และ 1.8 พันล้านบาทตามลําดับ

ส่วนแนวโน้มสัปดาห์นี้คาดว่าจะซื้อขายในกรอบ 31.55-32.00 ต่อดอลลาร์ โดยตลาดจะให้ความสนใจกับมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมทั้งในสหรัฐฯและยุโรป โดยสภาคองเกรส ของสหรัฐฯจะหารือเกี่ยวกับร่างกฎหมายเยียวยาความเสียหายจากวิกฤติไวรัส

2. ผลสำรวจชี้ราคาทองคำสัปดาห์นี้ยังทรงตัวในกรอบแคบๆ

ศูนย์วิจัยทองคำ เผยผลสำรวจ GRC Gold Survey รายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 20 – 24 ก.ค. 63 โดยระบุว่า 12 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้ จำนวน 7 ราย หรือ 58% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญ 3 ราย หรือ 25% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น มีจำนวน 2 รายเท่านั้นที่คาดว่าราคาทองคำจะลดลง

และจากการสอบถามนักลงทุนทองคำ 311 ราย มี 222 ราย หรือ 71% คาดว่าราคาทองคำในประเทศ สัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น จำนวน 53 ราย หรือ 17% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง มี 36 ราย หรือ 12% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 26,700 – 27,100 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 27,100 บาท ต่อบาททองคำ ปรับเพิ่มขึ้น 450 เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า

ปัจจัยที่นักลงทุนทองคำควรติดตามสัปดาห์นี้คือ การควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 , สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยสหรัฐฯ อาจพิจารณาแบน application social media จากจีน ด้วยสาเหตุเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งสถานการณ์ค่าเงินบาทไทยยังคงอ่อนค่า ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย

อัพเดตราคาทองคำ SPOT XAU/USD

3. ธนาคารพาณิชย์อีกหลายแห่งเตรียมแถลงผลประกอบการในวันนี้

ติดตามการประกาศผลประกอบการ 2Q63 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งต่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับวันนี้เป็นคิวของ ธนาคารไทยพาณิชย์  (BK:SCB)  (BK:KBANK) (BK:BBL)  (BK:BAY) TCAP AEONTS ก่อนหน้านี้ TISCO และ KTC ได้เผยออกมาแล้วโดย

(BK:TISCO) กำไรสุทธิ 2Q63 อยู่ที่ 1,333 ล้าน บาท ลดลง 10.1%QoQ และลดลง 25.9%YoY เป็นผลมาจาก (1) รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง ทั้ง QoQ และ YoY และ (2) ค่าใช้จ่ายผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ 873 ล้านบาท ลดลง 16.8%QoQ แต่เพิ่มขึ้น 534.7%YoY เป็นผลมาจากการคำนวณตามมาตรฐานบัญชีใหม่ และแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้บริษัทเข้มงวดมากขึ้น

ส่วน  (BK:KTC) รายงานกำไรสุทธิ 2Q63 ที่ 1,149 ล้านบาท ลดลง 27.7%QoQ และ ลดลง 13.1%YoY มาจาก (1) ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2,083 ล้านบาท (+59.3%QoQ, +33%YoY) เนื่องจากผลกระทบจากมาตรฐานทางบัญชีใหม่ (TFRS9) ส่งผลให้ NPL ของบริษัทปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 6.6% (1Q63 อยู่ที่ 4.0%) ประกอบกับความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้บริษัททำการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น และ (2) รายได้ค่าธรรมเนียม 2Q63 อยู่ที่ 2,060 ล้าน บาท ลดลงทั้ง QoQ และ YoY จากปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ลดลง

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย