ศูนย์วิจัยกรุงศรีชี้เศรษฐกิจไทย “แข็งนอก อ่อนใน”

เผยแพร่ 19/06/2563 11:09
USD/THB
-

Investing.com - ศูนย์วิจัยกรุงศรีเปิดเผยว่า หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ในประเทศไทยบรรเทาลงและธุรกิจหลายประเภทเริ่มกลับมาดำเนินกิจการ เงินบาทได้กลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและแข็งค่ารวดเร็วกว่าประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย นำมาซึ่งความวิตกต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ การแข็งค่าของเงินบาทมิได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เท่านั้น

แต่ในช่วงราวสองทศวรรษที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าสำคัญ สร้างความกังวลต่อภาคส่งออกซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย จากการประเมินโครงสร้างการผลิตและความเชื่อมโยงของภาคส่งออกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านตาราง

ปัจจัยการผลิตและผลผลิต พบว่าอุตสาหกรรมในไทยมากกว่าครึ่งของผลผลิตทั้งประเทศจัดอยู่ในกลุ่มผู้ส่งออกสุทธิ (สัดส่วนการส่งออกมากกว่าการนำเข้า) ซึ่งจะได้รับผลเสียจากการแข็งค่าของเงินบาท สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบ (Sensitivity analysis) ภายใต้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium Model)พบว่า เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น 10% จะทำให้ GDP ลดลง 0.4% ในระยะสั้น และจะลดลงมากถึง 0.8% ในระยะยาว อีกทั้งยังส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลงราว 17%

สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบทางลบรุนแรง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง อาทิอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอกนิกส์ โดยภาพรวมแล้วการแข็งค่าของเงินบาทกำลังบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกและอาจส่งผลให้ต่างชาติย้ายฐานการผลิตออกจากไทย อีกทั้งยังกัดกร่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ USD/THB และเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยอัตราแลกเปลี่ยนมีการแข็งค่าราว 25% เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าสำคัญแข็งค่าขึ้นถึง 34%

ดูกราฟค่าเงินบาท https://th.investing.com/currencies/usd-thb

ที่สำคัญในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นในอัตราที่เร่งขึ้น ประเด็นดังกล่าวไม่เพียงสร้างความกังวลต่อผู้ประกอบการภายในประเทศและนักลงทุนจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ดังนั้น Research Intelligence ฉบับนี้จึงวิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในมิติระยะสั้นและระยะยาวที่มีต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ

คลิกดูรายงานฉบับเต็มจากศูนย์วิจัยกรุงศรี

บทความห้ามพลาด

ถ้า กนง. ลดดอกเบี้ยจะช่วยทั้งเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน และตลาดทุน

เงินบาท ( 19 มิ.ย. ) อยู่ที่ 31.09 บาท/ดอลลาร์ จับตากนง. เล็งลดอัตราดอกเบี้ย

'สิ่งมหัศจรรย์ทั้ง7'ของเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ และตลาดการเงินปี 2020

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย