สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ผู้ลงทุนจีนกำลังโยกย้ายการลงทุนในตลาดหุ้นไปยังกองทุนรวมตลาดเงินสำหรับสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง (MMF) เนื่องจากตลาดหุ้นยังคงมีความผันผวนท่ามกลางสัญญาณการปรับนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นและความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนที่ยังคุกรุ่น
แนวโน้มดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนทิศทางจากเดิมที่ตลาดแห่เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน และทำให้ดัชนีบลูชิพของจีนเกิดการทำ Pull back ลงมาจากระดับสูงสุดในรอบห้าปี
(ภาพประกอบ - ดัชนีหลักของจีนเกิดความผันผวนครั้งใหญ่นับตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ส่งสัญญาณให้นักลงทุนหันมาลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน: https://fingfx.thomsonreuters.com/gfx/buzz/azgpokzmlpd/China's%20major%20indexes%20had%20witnessed%20big%20swings%20since%20mid-July.jpg)
เดิมทีกองทุน MMF เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูงเนื่องจากกองทุนมักลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูง อาทิ พันธบัตรรัฐบาล และผลตอบแทนก็มักเป็นไปตามสภาพเงินสดในระบบทางการเงินด้วย
Hwabao Tianyi ETF (SS:511990) กองทุน ETF ตลาดการเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ มีการถือหน่วยการลงทุนเพิ่มขึ้น 35.6% ถึง 968 ล้านหน่วยจากข้อมูลล่าสุดวันที่ 3 สิงหาคม จากวันที่ 13 กรกฎาคมที่มี 714 ล้านหน่วย ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีบลูชิพ CSI300 เริ่มย่อตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบห้าปี
Huatai-PB CSI 300 ETF (SS:510300), กองทุน ETF ขนาดใหญ่ที่สุดที่ลงทุนในดัชนีบลูชิพ CSI300 (CSI300) มีการถือหน่วยการลงทุนลดลง 17.9% เหลือ 7.8 พันล้านหน่วยจากข้อมูลล่าสุดวันที่ 3 สิงหาคม จากวันที่ 13 กรกฎาคมที่มี 9.5 พันล้านหน่วย
บรรดาดัชนีหลักของจีนต่างก็ทรุดตัวลงครั้งใหญ่ในวันที่ 16 และ 24 กรกฎาคม หลังผู้ลงทุนเกิดความกังวลต่อการปรับนโยบายทางการเงินให้มีความตึงตัวมากขึ้นเนื่องจาก GDP ที่ดีเกินคาดในไตรมาสที่สอง และความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายลง