รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

5 เหตุการณ์สำคัญ ปฏิทินเศรษฐกิจสัปดาห์นี้ (22-26 ก.ค.)

เผยแพร่ 21/07/2562 16:28
อัพเดท 21/07/2562 17:00
© Reuters.

Investing.com - ห้าประเด็นหลักที่คุณควรรู้เพื่อเริ่มต้นสัปดาห์นี้มีดังต่อไปนี้

  1. การประชุมนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป

แม้ว่าตลาดจะไม่ได้คาดหวังให้ธนาคารกลางยุโรปลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อถึง การประชุม ในวันพฤหัสบดีนี้ แต่ผลการประชุมก็อาจส่งสัญญาณให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ท่ามกลางปัจจัยความไม่แน่นอนทั่วโลกและความไม่ลงรอยทางการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ

นอกจากนี้ผู้ลงทุนก็จะเฝ้าจับตาสัญญาณจากธนาคารกลางยุโรปว่าจะมีการใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซนในรูปแบบการซื้อตราสารหนี้หรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้นจริงแผนการดังกล่าวจะเริ่มต้นเมื่อไร

ล่าสุดแทบทุกธนาคารกลางหลักของโลก ทั้งธนาคารกลางยุโรปและเฟดต่างก็มีท่าทีที่เอนเอียงไปทางนโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อต่อกรผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก

  1. ข้อมูลทางเศรษฐกิจทั่วโลก

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกทิศทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก ฉะนั้นในวันพุธนี้ตลาดจะให้ความสนใจกับดัชนี PMI ภาคการผลิตล่วงหน้าจาก ญี่ปุ่น, ยูโรโซน และ สหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อทั้งสามประเทศกำลังมีทิศทางที่มุ่งหน้าไปยังนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายด้วย

สหรัฐฯ จะรายงานข้อมูล ยอดขายบ้านมือหนึ่ง และ ยอดขายบ้านมือสอง รวมถึง คำสั่งซื้อสินค้าคงทน และในวันศุกร์นี้จะมีการรายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจล่วงหน้า ประจำไตรมาสที่สอง ด้วย โดยเหล่านักเศรษฐศาสตร์ได้คาดไว้ว่าอัตราการเติบโตในไตรมาสนี้จะอยู่ที่ 1.8% ชะลอตัวลงจาก 3.1% เมื่อไตรมาสที่แล้ว

  1. บริษัทในหุ้นกลุ่ม FAANG เตรียมรายงานผลประกอบการ

Netflix (NASDAQ:NFLX) ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ้นกลุ่ม FAANG ได้ประเดิมการรายงานผลประกอบการเป็นบริษัทแรกไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงไปถึง 10.2 % เนื่องด้วยรายงานของบริษัทที่ระบุว่ายอดสมาชิกในสหรัฐฯ ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบแปดปี

ผลประกอบการดังกล่าวทำให้ผู้ลงทุนเกิดความกังวล เพราะผลประกอบการและหุ้นของบริษัทกลุ่ม FAANG ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำผลงานให้วอลล์สตรีทเกิดแรงซื้อครั้งใหญ่ ทุบสถิติได้ทั้งในปีนี้และเมื่อปีที่แล้ว

Facebook (NASDAQ:FB) จะรายงานผลประกอบการในวันพุธนี้ ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมาราคาหุ้นได้ดิ่งลงไปท่ามกลางกระแสเรียกร้อง ให้มีการควบคุมดูแลทางกฎหมายแก่บริษัทที่ดีกว่านี้ในการจัดการด้านความเป็นส่วนบุคคล อีกทั้งโครงการเปิดตัวสกุลเงินคริปโตที่ชื่อ Libra ซึ่งโดนรัฐบาลสหรัฐฯ โจมตีอย่างหนักอีกด้วย

Alphabet (NASDAQ:GOOGL) จะรายงานผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทเองก็ได้รับเสียงเรียกร้องให้มีการควบคุมดูแลทางกฎหมายเช่นกัน ทางด้าน Amazon (NASDAQ:AMZN) ก็จะรายงานผลประกอบการในวันเดียวกัน ขณะที่ผู้ลงทุนเริ่มเกิดความกังวลว่า Walmart (NYSE:WMT) กับ Target (NYSE:TGT) กำลังกลายเป็นคู่แข่งตัวฉกาจทางด้านบริการการขายออนไลน์และการส่งสินค้า

ส่วนอีกหนึ่งสมาชิกของ FAANG นั่นก็คือ Apple (NASDAQ:AAPL) ก็จะรายงานผลประกอบการในวันที่ 30 กรกฎาคม และเมื่อถึงตอนนั้นก็จะสามารถมองเห็นผลกระทบจากแรงกระตุ้นของตลาดได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

  1. นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรคนใหม่

ผลการคัดเลือกผู้รับตำแหน่งแทนนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นางเธเรซา เมย์ มีกำหนดการประกาศออกมาในวันอังคารนี้ และมีกำหนดให้เมย์ส่งมอบตำแหน่งแทนในวันถัดไปทันที ซึ่งขณะนี้ดูเหมือนว่านายบอริส จอห์นสัน จะเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนต่อไปอย่างแทบจะแน่นอนแล้ว เฉือนนายเจเรมี ฮันท์ ผู้มีคะแนนเป็นอันดับที่สองมาได้

ปอนด์สเตอร์ลิง ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในระยะเวลา 27 เดือน ขณะที่แคนดิเดตทั้งสองได้พยายามเรียกคะแนนเสียงด้วยการสนับสนุน Brexit แบบหักดิบ และให้คำมั่นว่าจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปในวันที่ 31 ตุลาคมอย่างแน่นอนไม่ว่ามีข้อตกลงหรือไม่ก็ตามอีกด้วย

แต่โอกาสที่จะเกิด Brexit แบบไม่มีข้อตกลงกลับลดน้อยลงอย่างมากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ภายหลังจากคณะส.ส.ของอังกฤษได้ปรับใช้มาตรการที่จะป้องกันมิให้นายกรัฐมนตรีคนต่อไปสั่งระงับการเปิดประชุมสภาเพื่อผลักดัน Brexit แบบหักดิบ

  1. ตุรกีจะลดอัตราดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้

ในวันพฤหัสบดีนี้ ธนาคารกลางตุรกี จะนัดประชุมกันครั้งแรกนับตั้งแต่ประธานาธิบดี ไตยิป แอร์โดอัน ได้ปลดผู้ว่าการธนาคารกลางคนก่อนเพราะไม่ดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างทันท่วงที ซึ่งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 24% แล้ว

คาดว่าผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ มูรัต อุยซัล จะลดอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน แต่คำถามคือจะลดมากน้อยเพียงใด

เมื่อลองพิจารณาสถานการณ์ของ ค่าเงินลีรา ที่เพิ่งจะดำรงเสถียรภาพได้ไม่นานนี้จากเมื่อปีที่แล้วที่ทรุดตัวลงไปถึง 30% ถ้าหากลดอัตราดอกเบี้ยอีกก็จะมีความเสี่ยงที่สกุลเงินจะได้รับแรงกดดันอีก แต่เนื่องด้วยธนาคารกลางหลักต่าง ๆ ทั่วโลกต่างก็มีแนวโน้มจะลดอัตราดอกเบี้ยเหมือน ๆ กัน ฉะนั้นตุรกีคงไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไรนัก

--เนื้อหาข่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักข่าวรอยเตอร์

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย