NFT หรือ Non-fungible token กำลังกลายเป็นปรากฎการณ์ใหม่ในโลกคริปโตขณะนี้ โดยเทรนด์ดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงยุคทองของ DeFi อย่าง ‘DeFi Summer’ เมื่อช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา ขับเคลื่อนโดยเหล่านักลงทุนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ทั้งจากนักลงทุนเดิมที่อยู่ในตลาดคริปโตอยู่แล้ว และจากนักลงทุนในโลกการเงินแบบดั้งเดิม ที่ต่างให้ความสนใจอยากครอบครองเจ้า NFT สินทรัพย์ดิจิทัลบนบล็อกเชนนี้กันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม NFT นั้นมีกรณีการใช้งานที่หลากหลายและมีประเภทของการใช้ที่แตกต่างกันออกไป เช่น การใช้ในวงการศิลปะ, เพลง, ของสะสม, Item ในเกม หรือแม้แต่อสังหาริมทรัพย์ ที่ล้วนสามารถใช้ NFT แสดงความเป็นเจ้าของได้ทั้งสิ้น ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกรณีการใช้งานของ NFT ในประเภทต่าง ๆ กัน ผลงานศิลปะ NFTs NFT art เป็นงานศิลปะที่มาในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับ NFT ลักษณะเฉพาะของ NFT art คือรายละเอียดการซื้อขายงานศิลปะประเภทนี้ (เช่น ผู้ซื้อ ผู้ขาย ราคา) จะถูกบันทึกลงไปในระบบ Blockchain ลักษณะพิเศษของระบบกระจายอำนาจในการประมวลข้อมูลนี้ทำให้ข้อมูลการซื้อขายไม่สามารถถูกแก้ไขหรือถูกลบออกจากระบบได้ อย่างไรก็ตามการซื้อขายงานศิลปะในรูปแบบใหม่ในพื้นที่จะไม่สามารถจับต้องได้ (intangible) การซื้อขาย และสะสมผลงานจะเกิดขึ้นผ่าน application หรือ web browser บนหน้าจอดิจิทัลเท่านั้น ของสะสม NFTs หลายคนอาจจะมองว่า วงการ NFT นั่นมีแค่งานศิลปะเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมองไปทางไหนก็มีแต่นักวาด ครีเอเตอร์ที่ทำงานด้านกราฟิกออกผลงานใน NFT กันเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ foundation.app หรือ opensea.io แต่จริง ๆ แล้ว NFT สามารถใช้งานในรูปแบบของสะสมได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มการ์ดสะสมนักกีฬาอย่าง NBA Top Shot , PancakeSwap Bunny หรือ Binance Anniversary NFT ที่มีความต้องการอย่างมากสำหรับกรณีการใช้งานของสะสมดิจิทัล ไม่เว้นแม้แต่ โพสต์ทวีตแรกของนาย Jack Dorsey ก็ถือเป็นกรณีการใช้งานตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมสำหรับกรณีของสะสมดิจิทัลเช่นเดียวกัน โดย
กดอ่านข่าว 7 ประเภทของ NFT ที่นักสะสมควรรู้ ต่อที่ Siam Blockchain