BeInCrypto - บริการทางการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการให้กู้ยืมและการทำฟาร์ม Abracadabra Money นำเสนอแนวทางใหม่ในการให้กู้ยืม Stablecoin ในรูปแบบของ MIM — Magic Internet Money
การเปิดตัวเทคโนโลยี Kashi Lending ของ SushiSwap นั้นเป็นการเบิกทางให้กับ Abracadabra ทำให้โปรโตคอลสามารถจัดหาตลาดการให้กู้ยืมแบบที่แยกออกมา (Isolated Lending Market) ได้ ซึ่งหมายความว่า ความเสี่ยงในการให้กู้ยืมนั้นจะไม่กระจายตัวออกไป ส่งผลให้แพลตฟอร์มสามารถเสนอคู่สกุลเงินที่ไม่มีการรองรับจากกระดานเทรดแบบกระจายอำนาจ (DEX) รายอื่นๆ ได้เนื่องจากแพลตฟอร์มจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เมื่อปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น วันนี้ เราจะมาดูความมหัศจรรย์เบื้องหลัง Abracadabra และระบบโทเค็นของมันกัน
ต้องการอ่านรีวิวต่างๆ เกี่ยวกับโปรเจกต์คริปโตยอดนิยมอย่าง Abracadabra Money หรือไม่? เข้าร่วม BeInCrypto Trading Community บน Telegram สิ: มาอ่านรีวิวใหม่ๆ พูดคุยกันเรื่องโปรเจกต์คริปโต และฟังการวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ จากเหล่านักเทรดมืออาชีพ! เข้าร่วมเลยเดี๋ยวนี้
หัวข้อต่างๆ ในบทความ
- Abracadabra Money คืออะไร?
- Abracadabra Money ทำงานอย่างไรกันแน่?
- ข้อดีและข้อเสียของ Abracadabra Money
- โทเค็น Magic Internet Money (MIM)
- โทเค็น SPELL
- Abracadabra Money เปิดตัว DeFi 2.0
- คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ
- คำถามที่พบบ่อย
Abracadabra Money คืออะไร?
Abracadabra Money คือแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมสกุลเงินดิจิทัลผ่านระบบ DeFi มันช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างรายได้ด้วยการใช้สินทรัพย์ที่มีดอกเบี้ยเป็นหลักประกันเพื่อแลกกับการกู้ยืม Stablecoin ได้ Stablecoin ที่ใช้ดำเนินการในระบบนิเวศ Abracadabra นั้นจะถูกเรียกว่า Magic Internet Money (MIM) ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ Abracadabra นั้นใช้โทเค็นที่มีดอกเบี้ย (ibTKNs) ค้ำประกันเพื่อสร้าง MIM บนแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมแบบ Multi-Chain (รองรับหลายเชน) และให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ใช้งาน และนี่คือสิ่งที่ทำให้ Abracadabra ไม่เหมือนใคร
ibTKN หมายถึง สกุลเงินดิจิทัลที่ให้ยืมไปซึ่งจะค่อยๆ สะสมมูลค่าเพิ่มในขณะที่ผู้ยืมถือมันไว้ ซึ่งก็คือโทเค็นผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider (LP) Token) ประเภทหนึ่ง สินทรัพย์ที่มีดอกเบี้ยเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปแบบของ Ethereum, USDT, หรือ USDC ที่ได้ฝากไว้ใน Farming Pools (กลุ่มในการทำฟาร์มเพื่อผลตอบแทน) เช่น Yearn.Finance ต่อมา เมื่อทำการชำระคืน จำนวนของมันจะมากกว่าจำนวนที่ยืมไปในตอนแรก ทั้งหมดนี้เป็นการทำผ่านระบบ Lending Pool (กลุ่มที่ให้กู้ยืม) ยิ่งไปกว่านั้น Abracadabra ยังเป็น Multi-Chain ซึ่งหมายความว่าเหรียญ MIM นั้นสามารถโอนย้ายไปยังบล็อกเชนอื่นๆ ได้หลายตัว
Abracadabra Money ทำงานอย่างไรกันแน่?
เพื่อทำความเข้าใจในการทำงานของ Abracadabra Money คุณจะต้องทำความเข้าใจวิธีการดำเนินงานของแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมผ่านระบบ DeFi แบบดั้งเดิมเสียก่อน
ในการทำฟาร์มผลตอบแทน (Yield Farming) ส่วนใหญ่นั้น ผู้ใช้งานจะเลือกทำการฝากหรือ Stake สินทรัพย์สภาพคล่อง (ตัวอย่างเช่น USDT) เพื่อแลกกับการทำเช่นนี้ พวกเขาจะได้รับโทเค็นที่มีดอกเบี้ยที่ “ไม่มีสภาพคล่อง” (ตัวอย่างเช่น yUSDT) โทเค็นเหล่านี้จะไม่มีสภาพคล่อง แต่จะให้ดอกเบี้ยเมื่อเวลาผ่านไป พูดสั้นๆ ก็คือ ผู้ใช้งานจะจัดหาโทเค็นสภาพคล่องเพื่อแลกกับการได้รับโทเค็นที่ไม่มีสภาพคล่องแต่จะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ในทางกลับกัน แพลตฟอร์มอื่นๆ จะช่วยให้คุณได้ทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม ซึ่งก็คือ การฝากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง (ตัวอย่างเช่น Ethereum) เพื่อเป็นหลักประกัน แลกกับการรับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องตัวอื่นๆ (ตัวอย่างเช่น DAI Stablecoin) ซึ่งหมายความว่า คุณแลกเปลี่ยนโทเค็นสภาพคล่องของคุณเป็นโทเค็นสภาพคล่องตัวอื่นๆ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม Abracadabra Money ขยายขอบเขตของแนวทางนี้ออกไป ด้วยการใช้ผู้ใช้งานสามารถฝากโทเค็นที่ไม่มีสภาพคล่องซึ่งจะมีดอกเบี้ยเมื่อเวลาผ่านไป (ibTKNs) เป็นหลักประกันได้ และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แพลตฟอร์มจะทำการสร้าง (Mint) สินทรัพย์สภาพคล่อง MIM ขึ้นมา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากการใช้งานสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องเป็นสภาพคล่องในการทำฟาร์มผลตอบแทนได้
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน โทเค็น yvUSDT ที่ไม่มีสภาพคล่องซึ่งออกจากคลังของ Yearn USDT สามารถใช้เป็นหลักประกันบน Abracadabra สำหรับการกู้ยืมได้ ผู้ใช้งานสามารถกู้ยืมได้มากถึง 90% ของมูลค่าของหลักประกันและยังสะสม APY จากเงินฝากเดิมที่ทำขึ้นบน Yearn ได้ และสามารถแลกเปลี่ยน MIM กลับเป็น USDT เพื่อฝากกลับไปที่ Yearn เพื่อรับ APY มากขึ้นและทำการค้ำประกันอีกครั้งได้
Abracadabra Money: MIM
ข้อดีและข้อเสียของ Abracadabra Money
เช่นเดียวกับแพลตฟอร์ม DeFi หรือโปรโตคอลการให้กู้ยืมอื่นๆ มันมักจะมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ซึ่ง Abracadabra Money เองก็ไม่ต่างกัน การทำความเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของโปรเจกต์ทางการเงินใดๆ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเสมอ ดังนั้น เราไปดูกันดีกว่าว่า Abracadabra Money มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
ข้อดี
- ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้และอัตราส่วนหลักประกันของสินทรัพย์สามารถปรับแต่งแยกแต่ละรายการได้
- ใช้บริการได้ในเชนหลักหลายเชน
- ไม่มีค่าใช้จ่ายในการโฮสต์
- ใช้โทเค็นที่ไม่มีสภาพคล่องในแนวทางใหม่
ข้อเสีย
- ด้วยเรื่องทางเทคนิคที่อาจจะเข้าใจได้ยาก มันจึงอาจจะไม่ค่อยเป็นมิตรกับมือใหม่นัก
- อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องการใช้ช่องโหว่ของสัญญาอัจฉริยะหรือบั๊คต่างๆ
- อาจจะถูกชำระบัญชีได้
โทเค็น Magic Internet Money (MIM)
แพลตฟอร์ม Abracadabra Money นั้นใช้ประโยชน์จากโทเค็น 2 ตัว: Magic Internet Money (MIM) และ SPELL
โทเค็น MIM เป็น Stablecoin ที่ให้ผลตอบแทน ซึ่งผู้ใช้งานจะได้รับ MIM เพื่อแลกกับการฝากสินทรัพย์ที่มีดอกเบี้ยไว้ ผู้ใช้งานสามารถค้ำประกันสินทรัพย์คริปโตเพื่อสร้าง MIM บนบล็อกเชนอื่นๆ ได้หลายเชน ซึ่งรวมถึง Avalanche, Arbitrum, Fantom, Ethereum และ Binance Smart Chain สุดท้าย เมื่อทำการชำระ MIM คืน แพลตฟอร์มจะทำการเผา MIM จากอุปทาน ซึ่งจะทำให้อุปทานหมุนเวียนโดยรวมในตลาดลดลง
โทเค็น SPELL
SPELL เป็นโทเค็น Ethereum ดั้งเดิม (Native Ethereum Token) ของ Abracadabra และยังเป็นทั้งโทเค็นกำกับดูแล (Governance Token) และโทเค็นสารพัดประโยชน์ (Utility Token) ที่ใช้สำหรับเป็นรางวัลเพื่อจูงใจให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น โปรเจกต์ Abracadabra Money — ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของชุมชน — จะใช้โทเค็น SPELL ในการลงคะแนนในการพัฒนาแพลตฟอร์มในด้านต่างๆ นอกเหนือไปจากสิทธิ์ในการลงคะแนนแล้ว SPELL ยังใช้เป็นรางวัลให้แก่ผู้ให้บริการสภาพคล่องที่จัดหาโทเค็นให้กับพูลของ Abracadabra อีกด้วย
ปัจจุบัน โทเค็น SPELL มีราคาอยู่ที่ 0.0007 ดอลลาร์ และอยู่ในอันดับที่ 286 ด้วยมูลค่าตลาดที่ 76,332,263 ดอลลาร์
อุปทานโทเค็น:
- อุปทานหมุนเวียน: 107,405,628,969
- อุปทานสูงสุด/รวม: 196,008,739,620
โทเค็นโนมิคส์ของ SPELL
อุปทานของ SPELL มีการแจกจ่ายให้ดังต่อไปนี้:
- รางวัลสำหรับผู้ให้บริการสภาพคล่อง: 63%
- สมาชิกของทีมงาน: 30%
- การกระจายอุปทาน SPELL: 7% (อุปทานแบ่งให้กับ SushiSwap และ Uniswap v3 เท่าๆ กัน)
โทเค็น sSPELL
เพื่อเปิดใช้งานสิทธิ์ในการกำกับดูแลและรางวัล ผู้ใช้งานจะต้องทำการ Stake โทเค็นของพวกเขาเสียก่อน ประการแรก ผู้ใช้งานสามารถ Stake SPELL เพื่อรับ eSPELL, และรับส่วนหนึ่งของดอกเบี้ย, การชำระบัญชี และค่าธรรมเนียมการยืม ส่วนแบ่งเหล่านี้เป็นสัดส่วนของ sSPELL (Stake SPELL) ที่เราเป็นเจ้าของ ค่าธรรมเนียม sSPELL ที่รวบรวมได้จะถูกคืนให้โดยอัตโนมัติโดย Abracadabra โดยเป็นอรางวัลทบต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณทำการ Stake มันจะมีการล็อคไว้ 24 ชั่วโมง
Abracadabra Money: SPELL Staking
Abracadabra Money เปิดตัว DeFi 2.0
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Abracadabra Money กำลังสร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ให้กับบริการทางการเงินแบบกระจายอำนาจ โดยการนำ DeFi 2.0 เข้ามาสู่พื้นที่ Web3 พวกเขาได้นำเสนอระบบการให้กู้ยืมแบบใหม่ด้วยการใช้งานโทเค็นไร้สภาพคล่อง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้งานจะได้รับ “ใบเสร็จ” จากแพลตฟอร์มให้บริการสินเชื่อ และนำมันไปใช้เป็นหลักประกันสำหรับกู้ยืมเพิ่มได้ ผลที่ตามมาก็คือ Stablecoin เดิมของพวกเขาจะทำรายได้เป็นรายปี อีกทั้ง “ใบเสร็จ” ดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายแค่เพียง 0.8% ต่อปี ช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับเงินคืน 90% ของมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องของพวกเขา ยุค DeFi 1.0 ที่ให้รางวัลผู้ใช้งานเพื่อแลกกับการจัดหาสภาพคล่องกำลังจะจบลงแล้ว และการถือกำเนิดของ DeFi 2.0 ที่นำโดย Abracadabra จะเป็นอนาคตของยุคถัดไป
คำศัพท์ทางเทคนิคในบทความ
- Yield Farming: รูปแบบการทำกำไรอย่างหนึ่งที่คล้ายๆ กับการ Staking เพียงแต่ว่า เงินที่เราฝากเข้าไปนั้นจะถูกนำไปใช้ในระบบจริงๆ (ไม่ได้ถูกล็อกเอาไว้) และมันจะกลายเป็นสภาพคล่องให้ระบบ และจะให้ผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ
- Staking: การที่เราเอาสกุลเงินดิจิทัลเราที่มีไปวางค้ำประกัน(ล็อก)ไว้เฉยๆ จากนั้นแพลตฟอร์มก็จะให้รางวัลตอบแทนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่แพลตฟอร์มกำหนด