BeInCrypto - สัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคาร Silvergate (SI) ล้มลงพร้อมส่งผลกระทบต่อตลาดคริปโตเคอเรนซี่และ ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ขนาดใหญ่ที่ทำให้หุ้นธนาคารสหรัฐทั้งตลาดร่วงลงอย่างรุนแรง
ทั้ง 2 ธนาคารนี้ อยู่ภายใต้สถาบันเดียวกัน ในขณะที่ Silvergate มีความเสี่ยงต่อสินทรัพย์ดิจิตอลสูง ส่วน Silicon Valley Bank เป็นธนาคารลักษณะดั้งเดิม ที่มีความเสี่ยงต่อสินทรัพย์ดิจิตอลต่ำกว่า
ความคล้ายคลึงกันระหว่างการล่มสลายของธนาคาร 2 แห่งนี้ คือ การถูก “Bank run” ทั้งสองแห่งได้รับผลกระทบจากการถอนเงินอย่างรุนแรง ทำให้ผู้บริหารต้องชำระบัญชีหลักทรัพย์ที่ถือไว้เป็นทุนสำรอง
การเทขายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เหล่านั้นบีบให้ธนาคารต้องตัดหนี้สูญจำนวนมาก เนื่องจากมูลค่าของพอร์ตการลงทุนที่สูญเสียมูลค่าเพราะอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา เมื่ออัตราเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างมากพร้อมกับการปรับขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐ ราคาพันธบัตรจะลดลง (discount) เป็นกลไกโดยปกติ
จุดเริ่มต้นของวิกฤต ธนาคาร Silvergate ล้ม
ภาพรวมการยื่นเอกสารงบการเงินกับหน่วยงานกำกับดูแลของธนาคารแสดงให้เห็นว่าไตรมาสที่ 4 นั้นเลวร้ายมาก เนื่องจากลูกค้าสถาบัน crypto แห่กันถอนเงินฝากหลังจากการล่มสลายของการแลกเปลี่ยน FTX ของ Sam Bankman-Fried
ณ สิ้นเดือนกันยายน ธนาคารมีเงินฝาก 13.3 พันล้านดอลลาร์ โดยมีสินทรัพย์เป็นเงินสดประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์ และหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน 11.4 พันล้านดอลลาร์
3 เดือนต่อมา เงินฝากลดลงเหลือประมาณ 6.3 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ธนาคารต้องระดมเงินสดมากขึ้นโดยต้องขายหลักทรัพย์ของตนเอง ลงเหลือประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2022
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในขาขึ้น การเทขายหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตราสารหนี้และพันธบัตรระยะยาว ทำให้ธนาคารต้องขาดทุนเป็นอย่างมาก เพราะสินทรัพย์เหล่านี้ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ราคาจะลดลง
จุดจบที่ยังไม่จบ
แม้ว่าจะมีการเทขายสินทรัพย์เพื่อโปะหนี้เมื่อช่วงต้นปีแล้ว แต่ในวันที่ 1 มีนาคม ทางสถาบันออกมาเปิดเผยว่า งบการเงินของธนาคารอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ปลอดภัยตามกฎหมายธนาคาร ทำให้สถานการณ์และความกังวลเริ่มรุนแรงขึ้นไปอีก
การประกาศนี้ทำให้หุ้นของบริษัทร่วงลงอย่างมาก จวบจนวันที่ 8 มีนาคม ธนาคารเผยว่า พวกเขา “ต้องขายสินทรัพย์ทั้งหมด” เพื่อใช้หนี้ ซึ่งหนี้เหล่านั้นรวมถึง “เงินฝาก” ของลูกค้าด้วยเช่นกัน
ผลกระทบส่งผลต่อเนื่องถึง Silicon Valley Bank ด้วยเช่นกันที่ต้องเผชิญกับหนี้เสียและวิกฤตความเชื่อมั่น ล่าสุดจึงล้มลงไปเช่นกันและนับว่าเป็นวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ Subprime ปี 2008 ปัญหานี้ทำให้เงินฝากมากมายต้องตกอยู่ในความเสี่ยงด้าน Bankrun ซึ่งผลกระทบแบบโดมิโน่อาจจะเกิดขึ้นในไม่ช้า อย่างไรก็ดี SVB ล่าสุดคาดว่าจะถูก Takeover โดย FDIC สถาบันภายใต้ธนาคารกลางสหรัฐแล้ว