เมื่อไม่นานมานี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากปรับวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน ซึ่งถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยนายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ วงเงินคุ้มครองที่ 1 ล้านบาท เกิดจากการมีที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้เก็บข้อมูลว่ามีผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน 82.07 ล้านราย คิดเป็น 98.03% ของผู้ฝากทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ส่วนประเภทของบัญชีเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับฝากเงิน ตั้งแต่การก่อตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากตั้งแต่ปี 2551 เราจะเห็นว่าการคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากนั้นลดลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 25 ล้านบาท มาเป็นไม่เกิน 5 ล้านบาทเมื่อปี 2562 จนกระทั่งเหลือเพียงไม่เกิน 1 ล้านบาทในปัจจุบัน ทั้งนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองเงินฝากแก่ผู้ฝากทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่ฝากเงินเป็นสกุลเงินบาทกับสถาบันการเงินของไทยภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ไทย 18 แห่ง สาขาธนาคารต่างประเทศ 12 แห่ง บริษัทเงินทุน 2 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 35 แห่ง ทำไมถึงควรมองทางเลือกอื่น ๆ ในการฝากเงิน? ในอดีตหลาย ๆ คนอาจจะมองว่าการฝากเงินกับธนาคารนั้นดีที่สุด เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ป้องกันการสูญหาย และได้รับดอกเบี้ยในทุก ๆ ปี แต่เนื่องด้วยการปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากในปัจจุบันนั้นอาจจะทำให้ใครหลาย ๆ คนต้องกลับมาคิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่การก่อตั้งธนาคารในประเทศไทยครั้งแรกในปี 2447 จนมาถึงปัจจุบันได้มีธนาคารที่ปิดกิจการหรือยุบรวมกับธนาคารอื่นกว่า 28 ธนาคารด้วยกัน อีกทั้งเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันส่งผลให้ธนาคารต่าง ๆ ต้องปิดตัวลงไปรวมกว่า 250 สาขานับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทำให้ตอนนี้เรากลับต้องมาคิดกันใหม่แล้วว่าธนาคารนั้นยังเป็นสถาบันที่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้อีกหรือไม่ ไม่ว่าจะทั้งในแง่การฝากเงินและการลงทุน
กดอ่านข่าว แบงก์ชาติปรับวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท แต่ทำไมชาว Crypto ยังยิ้มได้ ต่อที่ Siam Blockchain