โดย Barani Krishnan
Investing.com -- เฟดกำลังทำให้ทองคำตกอยู่ในที่นั่งลำบากอย่างมาก
เมื่อสรุปการซื้อขายในเดือนมิถุนายน มูลค่าของทองคำแท่งลดลงมากกว่า 8% ในไตรมาสที่สอง โดยทองคำทำผลงานแย่ที่สุดในรอบสามเดือนนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2021 และสำหรับเดือนมิถุนายนเอง การหลุดกรอบบวกนั้นมากกว่า 2% ทำให้ตัวเลขทั้งเดือนเป็นสีแดง
เมื่อวันพฤหัสบดี สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำเดือนสิงหาคม ที่ซื้อขายกันในตลาด Comex ของนิวยอร์ก ราคาได้ร่วงลงไป 10.20 ดอลลาร์หรือ 0.6% เป็น 1,807.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์
เช่นเดียวกันกับทองคำในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ยังคงติดอยู่ภายในช่วงการซื้อขาย 20 ดอลลาร์และที่ระดับต่ำสุด 1,800 ดอลลาร์
สาเหตุคือการพูดคุยเรื่อย ๆ ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้สูงสุดในรอบ 28 ปี เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นเร็วที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ
อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ทองคำบางรายพบว่าจะมีเหตุผลในเชิงบวกเกี่ยวกับโอกาสทำกำไรในอนาคตอันใกล้
“ทองคำทำผลงานแย่ในไตรมาสที่สองอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในแง่ดี มันอาจจะเป็นที่ที่มันจะเริ่มดีดตัวขึ้น” Phillip Streible นักยุทธศาสตร์ด้านโลหะมีค่าของ Blue Line Futures ในชิคาโก ซึ่งยอมรับว่าได้ซื้อทองคำที่ระดับต่ำสุดที่ 1,800 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี
“มันเป็นเรื่องปกติ ผู้คนเริ่มถอดใจกับทองคำแล้วเราจะพบว่ามันก็จะกลับมา” Streible กล่าว “ความแข็งแกร่งของ ดอลลาร์ มีแนวโน้มที่จะหายไปเมื่อเรารู้แล้วว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก จากนั้น ผลตอบแทนพันธบัตร จะพุ่งขึ้นอีกครั้ง ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลดีกับทองคำ”
คำถามที่ว่าทองคำจะตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างไรยังคงเป็นปริศนาสำหรับนักลงทุน นับตั้งแต่ราคาพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 2,100 ดอลลาร์ในเดือนสิงหาคม 2020 จากนั้นจึงทรุดตัวลงสู่ระดับ 1,600 ดอลลาร์ ณ จุดหนึ่งก่อนจะกลับคืนสู่ระดับ 2,000 ดอลลาร์เมื่อต้นปีนี้ แม้จะเป็นเวลาสั้น ๆ แม้จะเป็นที่กล่าวขานกันมากว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ แต่ความสัมพันธ์ของทองคำกับแรงกดดันด้านราคาแทบจะไม่คงที่ตลอดสองปีที่ผ่านมา
ในทางกลับกัน เงินเฟ้อ ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมาในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศสั่นคลอนอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันพุธแสดงให้เห็นว่า GDP ของสหรัฐฯ หดตัว 1.6% ในไตรมาสแรกเทียบกับการเติบโต 6.9% ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว โดยกระทรวงฯ จะเผยแพร่ GDP สามครั้งสำหรับแต่ละไตรมาส โดยสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับไตรมาสแรกคือการประมาณการตัวเลขของสองไตรมาสล่าสุดที่มีจุดเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าเมื่อก่อน
ข้อมูล GDP ตอกย้ำการคาดการณ์ของตลาดว่าสหรัฐฯ กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ด้วยตัวเลขการหดตัว 1.6% ในไตรมาสแรก เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค หากไม่กลับมาเติบโตเป็นบวกภายในสิ้นไตรมาสที่สอง ซึ่งจะสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี
เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวในฟอรัมของธนาคารกลางยุโรปที่ถ่ายทอดสดจากโปรตุเกสว่าเฟดอยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ แม้ว่าจะไม่มีการรับประกันว่าจะสามารถให้ทางออกที่ไม่บอบช้ำสำหรับเศรษฐกิจได้
“ถามว่า มีความเสี่ยงที่เราจะไปไกลเกินไป [ด้วยการขึ้นอัตรา] หรือไม่ ” พาวเวลล์กล่าต่อว่า “แน่นอนว่ามีความเสี่ยงแต่ความผิดพลาดที่ใหญ่กว่าก็มี พูดอีกนัยก็คือ ความล้มเหลวในการฟื้นฟูเสถียรภาพด้านราคาผู้บริโภค”
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าเฟดคง "อัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำเกินไปและนานเกินไป" ตั้งแต่ปีที่แล้วจากการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส เฟดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระหว่าง 0 ถึง 0.25% เป็นเวลาสองปีในช่วงการระบาดใหญ่ และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ในเดือนมีนาคมเท่านั้น นับตั้งแต่นั้นมาก็ทำให้ อัตราดอกเบี้ย อยู่ระหว่าง 1.5% ถึง 1.75% ธนาคารกลางกล่าวว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบ 40 ปี ที่ 8% ต่อปี กลับสู่เป้าหมายที่ 2% ต่อปี
โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่เป็นผลดีสำหรับทองคำ