📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ภาพรวมตลาดพลังงานและแร่โลหะมีค่าในสัปดาห์นี้

เผยแพร่ 14/11/2564 19:10
© Reuters
XAU/USD
-
GC
-
LCO
-
CL
-

โจ ไบเดนมีเวลามากน้อยแค่ไหนก่อนที่ราคาน้ำมันจะพึ่งขึ้นแตะ $100 ต่อบาร์เรล? ไม่ใช่แค่นักวิเคราะห์เท่านั้นที่ตั้งคำถามนี้ แต่ตอนนี้แม้แต่คนทั่วไปก็โยนคำถามนี้ให้กับท่านประธานาธิบดีคนที่ 46 ของประเทศด้วยเช่นกัน

สาเหตุที่ตอนนี้เรายังไม่เห็นราคาน้ำมันขึ้นแตะ $100 บาร์เรลนั่นเป็นเพราะโจ ไบเดนได้ออกโรงขู่กลุ่ม OPEC และกลุ่มบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งใครๆ ก็รู้ดีว่านั่นเป้นเพียงการซื้อเวลาให้ตัวเองเท่านั้น และนักวิเคราะห์หลายคนก็ลงความเห้นคล้ายกันว่าโจ ไบเดนไม่มีทางเลือกมากนักในการหยุดยั้งขาขึ้นครั้งประวัติศาสตร์ของวงการน้ำมันนี้

ให้จินตนาการง่ายๆ ว่าตอนนี้โจ ไบเดนมีระเบิดเวลาให้กูหลายลูกมาก และลูกๆ หลักในตอนนี้ก็หนีไม่พ้นวิกฤตพลังงานและเงินเฟ้อ โจ ไบเดนตอนนี้เรียกได้ว่าทำงานแข่งกับเวลาทุกวินาที ทำอย่างไรก็ได้ให้กู้ระเบิดลูกนี้ได้ หรือถ้าไม่ ก็ต้องยืดระยะเวลาออกไปให้ได้ มิเช่นนั้นระเบิดลูกนี้อาจทำลายระบบเศรษฐกิจของอเมริกา และท้ายที่สุดคือเก้าอี้ของเขาเอง

จากผลสำรวจความคิดเห็นของบุคคลธรรมดาทั่วไปและนักวิเคราะห์จากวอลล์ สตรีท ต่างมีความเห็นคล้ายกันว่าอเมริกาอาจจำเป็นต้องใช้ท่าไม้ตาย ดึงเอาน้ไมันจากคลังสำรอง (SPR) ออกมากดราคาน้ำมันให้ปรับตัวลดลง ตอนนี้รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังแทบจะลงไปอยู่ในจุดต่ำสุดในรอบสามปี และยังไม่ได้พูดถึงความต้องการพลังงานเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินเจ็ต ความต้องการน้ำมันในทุกภาคส่วนยิ่งทำให้หนึ่งดอลลาร์ที่ใช้แลกน้ำมันมามีราคาแพงขึ้น

ถามว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่โจ ไบเดนจะสามารถหยิบเอาแผน SPR ออกมาใช้? ก็ต้องถามก่อนว่ารัฐมนตรีกระทรวงพลังงานอย่างเจนิเฟอร์ แกรนด์ฮอร์ม จะอนุมัติให้ได้หรือเปล่า เพราะก่อนหน้านี้เขาเคยออกมากล่าวแล้วว่าอเมริกาไม่มีความจำเป็นต้องดึง SPR ออกมาช่วย แต่สถานการณ์ในตอนนี้ อาจทำให้เขาต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเองหรือไม่ 

เพราะก่อนหน้านี้ แม้แต่รายงานภาพรวมตลาดพลังงานระยะสั้นจาก EIA ก็ยังเขียนให้ประชาชนชื่นใจว่าเบรนท์ในช่วงสิ้นปีนี้จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ $82 ต่อบาร์เรล ก่อนที่จะปรับตัวลดลง$10 ภายในปีหน้า แต่หากหากแกรนด์ฮอร์มยอม เราก็น่าจะได้เห็นโจ ไบเดนดำเนินการบางอย่างภายในสัปดาห์นี้ ที่สำคัญ การจะเปิดใช้พลังงานสำรองของประเทศนั้นมีขัั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่ได้ง่ายเหมือนกับการเปิดปิดก็อกน้ำ และคำถามที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจังคือ ถึงจุดวิกฤตแล้วที่ต้องยอมเอาน้ำมันสำรองของชาติมาเสี่ยงแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าไปก่อนใช่หรือไม่

การเสี่ยงเอาคลังน้ำมันสำรองออกมาใช้ ไม่ต่างอะไรกับการเคลื่อนย้ายกองทหาร หากอเมริกาตัดสินใจใช้ SPR จริง นอกจากจะต้องตั้งคำถามว่าจะสามารถกดราคาน้ำมันให้ลงมาได้หรือไม่ ยังต้องตั้งคำถามด้วยว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างโอเปกจะมีท่าทีอย่างไร พวกเขาอาจจะลดกำลังการผลิตลงจากระดับราคาปัจจุบันเพื่อให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น หากทำเช่นนั้นการใช้ SPR ก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย และอย่าลืมว่าถ้าต้องใช้ SPR จริง โจ ไบเดนก็ต้องหาน้ำมันมาเติมคลังสำรองใหม่ แล้วการทำเช่นนั้นจะได้ประโยชน์อะไร?

จอห์น คิลดัฟฟ์ นักวิเคราะห์จากกองทุนเฮดฟันจ์ “Again Capital” เสนอแนะทางออกว่าหากจะให้การใช้ SPR นั้นได้ผล ในจังหวะที่ดึงออกมาใช้ อเมริกาอาจจะต้องไปยืมประเทศที่เป็นคู่รักคู่แค้นอย่างจีนมาก่อน แต่อุปสรรคของวิธีนี้คือเกมการเมืองที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน แต่หากทั้งสองประเทศสามารถทำได้จริง มุมมองของจอห์น เขาบอกว่าจะยิ่งเป้นเรื่องดี เพราะทั้งสองมหาอำนาจจะได้ใช้โอกาสนี้สานสัมพันธ์กันมากขึ้น เพราะถึงอย่างไร ราคาน้ำมันแพงก็ไม่ได้ทำให้ทั้งคู่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้

อีกหนึ่งวิธีที่อาจจะได้ผลคืออเมริกาต้องยอมให้อิหร่านได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยแลกกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร และเอากำลังการผลิตจำนวน 400,000 บาร์เรลกลับมา สูงที่สุดที่อิหร่านเคยสามารถผลิตน้ำมันได้คือ 2,000,000 บาร์เรลต่อวันหรือมากกว่านั้น แต่หากยอมใช้วิธีนี้ จะถือว่าเป้นการผิดข้อบังคับในสนธิสัญญาพลังงานอะตอมมิคระดับโลก และจะเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นสามารถเอาเยี่ยงอย่างและแหกกฎได้

ความเป็นไปได้อย่างสุดท้ายที่สำหรับตอนนี้ถือว่าทำได้ยากแล้วคือการควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศให้ได้ สำหรับตอนนี้ เอ็ด โมญ่า นักวิเคราะห์จาก OANDA วิเคราะห์ว่าราคาน้ำมันจะไม่สามารถขึ้นไปสูงกว่า $84 ต่อบาร์เรลได้ จนกว่าจะมีข่าวที่เกียวข้องกับตลาดพลังงานออกมาจากทำเนียบขาว ในช่วงนี้ แนวโน้มขาลงจะได้โอกาสสนุกกับการทำกำไรไปก่อน 

สาเหตุที่เราใช้คำว่า “การควบคุมเงินเฟ้อทำได้ยากแล้ว” ไม่ใช่สิ่งที่เราวิเคราะห์เอาเอง แต่มีหลักฐานรองรับจากตัวเลขมาตรวัดเงินเฟ้อ ที่ประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคแบบปีต่อปีที่มีตัวเลขออกมาสูงที่สุด 6.2% นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 1990 และตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยมหาลัยมิชิแกนที่หดตัวลดลงมากที่สุดในรอบทศวรรษ นี่คือเสียงสะท้อนของชาวอเมริกันมากกว่า 70% แล้วว่าภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็นของจริง

การวิเคราะห์ราคาน้ำมันทางเทคนิค

Sunil Kumar Dixit หัวหน้านักวิเคราะห์ทางเทคนิคจากเว็บไซต์ skcharting.com ประเมินว่า

“อินดิเคเตอร์ Stochastic ได้ขึ้นถึงโซน overbought ในกราฟรายสัปดาห์ จึงเป็นที่มาว่าทำไมแท่งเทียนขาลงในสัปดาห์ของวันที่ 24 ตุลาคมจึงเกิดขึ้น ที่มีราคาปิดอยู่ที่ $82.97 สร้างจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้าที่ $84.05 และแท่งเทียนถัดมาก็สามารถสร้างจุดต่ำสุดเอาไว้ที่ $81.53 ต่อบาร์เรล ล่าสุด สัปดาห์ที่แล้ว กราฟรายสัปดาห์ก็สามารถสร้างจุดต่ำสุดเอาไว้ที่ $80.79 นี่คือแท่งเทียนสามทารเสือของรูปแบบขาลง”

“สำหรับแนวรับสำคัญ” เขากล่าวต่อ “คือบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 5 สัปดาห์ที่ $80.87 ต่อบาร์เรล การยืนเหนือ $80.87 ต่อบาร์เรลอาจช่วยให้ WTI สามารถกลับขึ้นไปยัง $81.82 ต่อบาร์เรล อ้างอิงจากการวัด Fibonacci จากจุดต่ำสุด $78.24 และจุดสูงสุด $85.40 ต่อบาร์เรล แต่หากปรับตัวลดลงมาต่ำกว่า $79.77 ต่อบาร์เรล มีโอกาสที่ราคาจะลงไปทดสอบแนวรับที่ $78.71 ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ย EMA 10 สัปดาห์ และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ $78.24, $77 และ $74.28 ตามลำดับ”

สรุปภาพรวมตลาดน้ำมัน

ขาขึ้นของตลาดน้ำมันตอนนี้มีมากเกินไป และสมควรแล้วที่จะปรับฐานลงมาในช่วงเวลาแบบนี้

น้ำมันดิบ WTI ตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง 0.6% โดยที่สองสัปดาห์ก่อนได้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง 2.8% และ 0.2% โดยมีระดับราคาสูงสุดในช่วงนี้อยู่ที่ $85 ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง 0.8% และสองสัปดาห์ก่อนหน้านั้นเป็นขาลง 1.9% และ 1.3% ตามลำดับ มีจุดสูงสุดในรอบสามปีอยู่ที่ $86 ต่อบาร์เรล

ภาพรวมตลาดทองคำ

ราคาทองคำในตอนนี้น่าจะเรียกได้ว่าออกจากภาวะจำศีลแล้ว และขาขึ้นครั้งนี้มีศักยภาพพอที่จะพานักลงทุนขึ้นไปสัมผัส $1,900 ได้ ราคาซื้อขายทองคำล่วงหน้าที่จะส่งมอบในเดือนธันวาคม เมื่อวันศุกร์ที่แล้วปรับตัวขึ้นมา $4.60 มีระดับราคาอยู่ที่ $1,868.50 ก่อนหน้านี้ในวันที่ 15 มิถุนายน เคยทำจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $1,871.35

ช่วงเวลาสองสัปดาห์ล่าสุดถือเป็นขาขึ้นติดต่อกันสองสัปดาห์แล้ว ในสัปดาห์เริ่มต้นของเดือนพฤศจิกายน ทองคำสามารถทำขาขึ้นไปได้ 1.8% ในขนธที่สัปดาห์ก่อนทะยานขึ้นอีก 2.8% รอบนี้ถือเป้นช่วงเวลาขาขึ้นที่นานที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงสัปดาห์แรกของกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์หลายคนที่ต้องการเห็นทองคำยืนเหนือ $1,900 ให้ได้ก่อน จึงจะยอมรับว่าเป็นขาขึ้นที่แท้จริง

สาเหตุที่ว่าทำไมขาขึ้นในระลอกนี้ถึงมาช้านัก ทั้งๆ ที่ทองคำเป้นสินทรัพย์คานเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์บางคนให้ความเห็นว่าเป็นเพราะตลาดลงทุนเลือกเชื่อคนผิด ไปคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะรีบปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นภายในช่วงครึ่งปีแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป นักลงทุนได้รู้ความจริง และเลือกที่จะไม่รอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกต่อไป ไม่ว่าจะดำเนินนโยบายแบบนี้ ตลาดก็เลือกจะเชื่อไปแล้วว่านี่คือภาวะเงินเฟ้อ

อนึ่ง ขาขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นผลมาจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่ออกมาสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 1990

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย