โดย Barani Krishnan
Investing.com - หลังจากซื้อขายที่ระดับ 1,900 ดอลลาร์ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ราคาทองคำก็กลับมาแกว่งตัวอย่างไร้ทิศทาง ซึ่งกลายมาเป็นเรื่องปกตินับตั้งแต่ช่วงต้นปี
ดูเหมือนว่าทองคำจะมีแรงขับเคลื่อนเพียงเล็กน้อยในการก้าวผ่านระดับราคา 1,800 ดอลลาร์ เว้นเสียแต่ว่าตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม ซึ่งกำลังจะประกาศในวันนี้ จะออกมาดีเกินคาด
ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เป็นตัวกำหนดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐให้ความสำคัญมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค จากฉันทามติของนักวิเคราะห์ที่ติดตามโดย Investing.com คาดว่า PCE เดือนพฤษภาคม จะขยายตัว 2.9% เทียบกับการเติบโต 1.8% ในเดือนเมษายน
“ความกระวนกระวายใจเกี่ยวกับเงินเฟ้อกำลังกลับมาอีกครั้ง ก่อนประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจในวันพรุ่งนี้” โซฟี กริฟฟิธ นักวิเคราะห์จากแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ OANDA กล่าว “ในขณะที่ความกลัวเรื่องเงินเฟ้อได้ครอบงำตลาดมาตลอดทั้งเดือน แต่เฟดก็ยังคงย้ำอยู่เสมอเกี่ยวกับความคาดหวังต่อการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดขึ้น”
ราคาส่งมอบทองคำเดือนมิถุนายน ในตลาด Comex ของนิวยอร์ก ลดลง 5.30 ดอลลาร์หรือ 0.3% อยู่ที่ 1,898.50 ดอลลาร์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมามันแตะระดับสูงสุดที่ 1,913.25 ดอลลาร์ นั่นเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือนครึ่งนับตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่อยู่ในระดับ 1,900 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม
เฟดรับทราบแรงกดดันด้านราคาที่เกิดจากปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐที่ต้องพยายามรับมือกับอุปสงค์ในช่วงฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากจัดการกับปัญหาโควิด
แต่คณะกรรมการ FOMC ที่กำหนดนโยบายของธนาคารกลาง ซึ่งนำโดยประธาน เจอโรม พาวเวลล์ ยืนยันว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเหล่านี้ “จะเกิดขึ้นชั่วคราว” และจะจางหายไปเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่ FOMC ยังไม่เห็นความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทันที ซึ่งคงไว้ที่ระดับ 0 - 0.25% นับตั้งแต่การระบาดของโควิดในเดือนมีนาคม 2020
ในสภาวะปกติ เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลดีต่อราคาทองคำ ซึ่งถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่มีปัญหาทั้งทางการเงินและทางการเมือง
ถึงกระนั้นก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาคู่แข่งของทองคำ อันได้แก่ ดอลลาร์ และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้น จากสัญญาณของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารกลางปฏิเสธ การเก็งกำไรดังกล่าวทำให้เกิดการเทขายทองคำจำนวนมาก กระทั่งราคาใกล้จุดต่ำสุดในรอบ 11 เดือนที่ระดับต่ำกว่า 1,674 ดอลลาร์ ก่อนที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและค่าเงินดอลลาร์จะลดต่ำลง ช่วยให้ราคาทองคำกลับมาที่ 1,800 ดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
เฟดได้ตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อประจำปีไว้ที่ 2% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่แทบจะไม่บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเลย โดยนักวิจารณ์ระบุว่า ไม่ตรงกันกับการใช้ตัวเลข PCE อ้างอิงของธนาคารกลาง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ต้นทุนอาหารและพลังงาน อันเป็นหนึ่งในตัวกำหนดอัตราเงินเฟ้อที่มีความผันผวนมากที่สุด
ในทางกลับกัน ตัวเลข CPI ซึ่งรวมถึงราคาอาหารและพลังงาน มีการเติบโต 4.2% ในเดือนเมษายนซึ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 13 ปี หลังจากที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากในระบบเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากการแพร่ระบาดของโควิด
ราคาเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่บ้านไปจนถึงไม้ที่ใช้ก่อสร้าง ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เกรงว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ อาจสูงที่สุดในรอบ 35 ปี