🧮 ยังเลือกซื้อหุ้นแบบเก่า ๆ อยู่อีกหรือ? ถึงเวลาลองของใหม่ เลือกหุ้นด้วยเทคโนโลยี AI ดีกว่ารับส่วนลด 50%

ทองฟิวเจอร์อ่วม เจอข่าวร้าย 3 เด้ง! ล่าสุดดิ่งกว่า 60 ดอลลาร์ หลุด $2,330

เผยแพร่ 08/06/2567 04:20
ทองฟิวเจอร์อ่วม เจอข่าวร้าย 3 เด้ง! ล่าสุดดิ่งกว่า 60 ดอลลาร์ หลุด $2,330
GC
-

InfoQuest - ราคาทองฟิวเจอร์ร่วงลงอย่างหนักในวันนี้ ล่าสุดดิ่งลงกว่า 60 ดอลลาร์ หลุดระดับ 2,330 ดอลลาร์ หลังมีข่าวว่า ธนาคารกลางจีนได้ระงับการซื้อทองเข้าสู่กองทุนสำรองในเดือนพ.ค. หลังจากที่ได้ซื้อติดต่อกันเป็นเวลา 18 เดือน

ณ เวลา 21.09 น.ตามเวลาไทย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลบ 65.30 ดอลลาร์ หรือ 2.73% สู่ระดับ 2,325.60 ดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองยังได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสูงเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้

นอกจากนี้ ราคาทองถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานดังกล่าว

ทั้งนี้ ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ขณะที่การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 272,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 182,000 ตำแหน่ง

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ธนาคารกลางจีนได้ระงับการซื้อทองเข้าสู่กองทุนสำรองในเดือนพ.ค. หลังจากที่ได้ซื้อติดต่อกันเป็นเวลา 18 เดือน เนื่องจากราคาทองสปอตพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค.

ทั้งนี้ ราคาทองสปอตทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 2,449.89 ดอลลาร์/ออนซ์ในวันที่ 20 พ.ค. โดยราคาพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนมี.ค.-พ.ค. ขณะที่ได้แรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลของทางการจีนระบุว่า จีนได้ถือครองทองจำนวน 72.80 ล้านทรอยออนซ์ ณ สิ้นเดือนพ.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นเดือนเม.ย. ขณะที่มูลค่าทองคำสำรองของจีนพุ่งสู่ระดับ 1.7096 แสนล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.6796 แสนล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนเม.ย.

ความต้องการซื้อทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นปัจจัยผลักดันราคาทองในตลาด ขณะที่สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางจีนเป็นผู้ซื้อทองรายใหญ่ที่สุดในปี 2566 โดยซื้อสุทธิ 7.23 ล้านออนซ์ ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดภายในปีเดียวนับตั้งแต่ปี 2520

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย