ซิตี้คาดทองมีสิทธิ์พุ่งแตะ 3,000 ดอลลาร์-น้ำมันแตะ 100 ดอลลาร์ภายในปี 68

เผยแพร่ 20/02/2567 17:14
ซิตี้คาดทองมีสิทธิ์พุ่งแตะ 3,000 ดอลลาร์-น้ำมันแตะ 100 ดอลลาร์ภายในปี 68
XAU/USD
-
LCO
-
CL
-

InfoQuest - ซิตี้ (Citi) คาดการณ์ว่าราคาทองคำอาจทะยานขึ้นสู่ระดับ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์และราคาน้ำมันมีสิทธิ์พุ่งขึ้นสู่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลภายในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า หากเกิดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจากทั้งหมด 3 ปัจจัยที่เป็นไปได้

นายอาคาช โดชี หัวหน้าฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ประจำอเมริกาเหนือของซิตี้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า ทองคำ ซึ่งปัจจุบันซื้อขายที่ 2,016 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ อาจพุ่งขึ้นประมาณ 50% หากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อกลับพุ่ง (Stagflation) หรือเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรง

"ปัจจัยที่จะเอื้อให้ทองคำพุ่งแตะ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์มากที่สุดคือการลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐของธนาคารกลางในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่วิกฤตความเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ" นายโดชิและนักวิเคราะห์รายอื่น ๆ ของซิตี้ระบุ

นายโดชิอธิบายว่า กรณีดังกล่าวจะทำให้ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ซื้อทองคำเพิ่มเป็นสองเท่าตัว ซึ่งปัจจัยนี้มีสิทธิ์ช่วงชิงตำแหน่งปัจจัยสำคัญที่สุดในการกระตุ้นอุปสงค์ทองคำไปจากการบริโภคอัญมณี

ซิตี้ระบุว่า การเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ พุ่งสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารกลางเหล่านี้ต้องการสร้างความหลากหลายให้กับทุนสำรองระหว่างประเทศและลดความเสี่ยงทางสินเชื่อ โดยธนาคารกลางจีนและรัสเซียเป็นหัวหอกในการเข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้น ขณะที่อินเดีย ตุรกี และบราซิลก็ซื้อทองคำมากขึ้นเช่นกัน

สภาทองคำโลก (WGC) รายงานในเดือนม.ค.ว่า ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำสุทธิกว่า 1,000 ตันติดต่อกันมาสองปีแล้ว

อีกปัจจัยที่จะหนุนให้ทองพุ่งสู่ระดับ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์คือภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยขั้นรุนแรง ซึ่งจะกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็ว

ส่วนราคาน้ำมัน ซิตี้คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะพุ่งแตะระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลอีกครั้ง โดยนายโดชิระบุว่า ปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ราคาน้ำมันพุ่งแตะระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลนั้นได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นจากโอเปกพลัส และภาวะติดขัดด้านอุปทานจากภูมิภาคผลิตน้ำมันสำคัญ

อนึ่ง สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ฟิวเจอร์ส่งมอบเดือนเม.ย.ซื้อขายที่ 83.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ฟิวเจอร์ส่งมอบเดือนมี.ค.อยู่ที่ 79.13 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย