ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ลบภาพขาลงที่เกิดขึ้นจากการประชุม FOMC เมื่อวันพุธได้เกือบทั้งหมด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ไม่มีแผนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงปี 2023 แต่ขาขึ้นของดอลลาร์และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็นสัญญาณบอกกับเราว่านักลงทุนบางส่วนยังเชื่อมั่นกับการตัดสินใจของเฟดที่มีต่อภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดัชนีภาคการผลิตจากธนาคารกลางรัฐฟิลาเดเฟียกระโดดขึ้นจาก 23.3 จุดเป็น 51.8 จุด ขานรับการคาดการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ หากเรายังเห็นตัวเลขภาคการผลิตเติบโตดีขึ้นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ อีกไม่นานเราก็จะได้เห็นตัวเลขภาคการบริการฟื้นตัวตามขึ้นมา เหตุผลที่เฟดไม่อาจทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าได้นานเป็นเพราะการกระจายวัคซีนที่ทำได้เร็วกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทำให้ไตรมาสที่ 2 และช่วงครึ่งหลังของปี 2021 กลายเป็นช่วงเวลาที่สดใสของสหรัฐอเมริกา
กราฟ USD/JPY มีโอกาสวิ่งเข้าสู่ช่วงพักฐานภายในระยะเวลาอันใกล้ แต่เราไม่เชื่อว่ากราฟจะปรับตัวลดลง ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) พึ่งประชุมเสร็จในช่วงเช้าของวันนี้และพวกเขายังคงตัดสินใจที่จะคงดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ดังเดิม ปัจจุบัน BoJ ยอมให้อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวอยู่ไม่เกิน 0.2% ซึ่งถือว่าเป็นไปตามนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็น 0% ของธนาคารกลางฯ นอกจากนี้ BoJ ยังเพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่าน J-REIT คิดเป็นวงเงิน 180,000 ล้านเยนเพื่อเป็นการคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป
การแข็งค่าขึ้นมาของดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้กราฟ USD/CAD ปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบแปดวันล่าสุด วันนี้แคนาดาจะมีการประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกซึ่งเชื่อว่าตัวเลขการจ้างงานที่ดีขึ้นจะทำให้ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยดีขึ้นตามไปด้วย ที่ผ่านมากราฟ USD/CAD วิ่งอยู่ในขาลงมานาน ถ้าตัวเลขยอดขายปลีกดีขึ้นตามที่คาด เราอาจจะได้เห็นการฟื้นตัวที่รุนแรงของกราฟ USD/CAD
ถือว่าไม่ผิดโผเมื่อธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ตัดสินใจคงนโยบายทางการเงินเอาไว้ดังเดิมซึ่งนั่นทำให้สกุลเงินปอนด์อ่อนค่าลงเช่นเดียวกับดอลลาร์หลังได้ยินคำตัดสิน BoE กล่าวว่า “ที่ประชุมมีมติเห็นว่ายังไม่ควรเพิ่มความรัดกุมให้กับนโยบายการเงินตอนนี้จนกว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนและอัตราเงินเฟ้อสามารถขึ้นถึงเป้า 2% ได้” แถลงการณ์เช่นนี้หมายความว่า BoE ยังไม่คิดถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแน่นอน ถึงแม้ว่ากราฟ GBP/USD จะปรับตัวลดลง แต่สกุลเงินปอนด์กลับแข็งค่าได้มากกว่ายูโรในรอบมากกว่าหนึ่งปี
สกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดเมื่อวานนี้คือดอลลาร์ออสเตรเลียเพราะตัวเลขการจ้างงานในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นมา 88,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ถึงสามเท่า ที่สำคัญ การจ้างงานทั้งหมดยังเป็นตัวเลขการจ้างงานแบบเต็มเวลาและอัตราการว่างงานก็ลดลงจาก 6.4% เป็น 5.8% ดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์เอาไว้ที่ 6.3% แม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะแสดงความเป็นกังวลต่อเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้านี้ แต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ของออสเตรเลียก็เป็นตัวพิสูจน์แล้วว่าเศรษฐกิจของพวกเขากำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจริงๆ
กลับกัน สกุลเงินบ้านพี่เมืองน้องอย่างดอลลาร์นิวซีแลนด์กลับเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากที่สุด เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของนิวซีแลนด์หดตัว 1% แม้ว่าภาพรวมนั้นการฟื้นตัวของนิวซีแลนด์ก็ถือว่าทำได้ดี แต่ก็ยังมีบางภาคส่วนที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าความต้องการของรัฐบาลนิวซีแลนด์
กลับกัน สกุลเงินบ้านพี่เมืองน้องอย่างดอลลาร์นิวซีแลนด์กลับเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากที่สุด เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของนิวซีแลนด์หดตัว 1% แม้ว่าภาพรวมนั้นการฟื้นตัวของนิวซีแลนด์ก็ถือว่าทำได้ดี แต่ก็ยังมีบางภาคส่วนที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าความต้องการของรัฐบาลนิวซีแลนด์