NER ทำอะไร
NER เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet : RSS) ยางแท่ง (Standard Thai Rubber : STR) และ ยางผสม (Mixtures Rubber) เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ อาทิ จีน สิงคโปร์ฮ่องกง มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งบริษัทได้รับอนุญาตเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราไปยังนอกราชอาณาจกัร
มีสัดส่วนรายได้แยกตามผลิตภัณฑ์ ณ 1Q63 คือ 1) ยางแท่งผสม (STR-CP) สัดส่วน 41% 2) STR20 สัดส่วน 23% 3) ยางแผ่นรมควัน (RSS) สัดส่วน 19% และ 4) ยางแผ่นรมควัน ผสม (RSS-CP) สัดส่วน 16%
ณ สิ้น 1Q63 สัดส่วนรายได้จากการส่งออกอยู่ที่ 50% เพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 2562 ซึ่งเป็นลูกค้าจีนราว 60% ของรายได้ทั้งหมด (รวมบริษัทจีนที่ตั้งโรงงานในไทย)
NER story
NER ได้ประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนที่ทยอยเปิดได้เร็วกว่าประเทศอื่น และ ได้รับคำสั่งซื้อมากขึ้น เพราะลูกค้าไม่มีการสต๊อกใน 1Q63เพราะมีการปิดประเทศ
NER มีจุดแข็งที่มีลูกค้าเป็นผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ และรถบรรทุกรายใหญ่ในจีน ล่าสุดได้ ลูกค้าใหม่คือ LLIT (หลิงหลง)และ Triangle tires
ปี 2563 มีกำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้น 59% หรือ 172,800 ตัน/ปี เป็น 465,600 ตันต่อปีเสร็จ แล้ว 70% และจะเสร็จทั้่งหมดใน 4Q63 โดยกำลังกำรผลิตใหม่เป็นสินค้ายางอัดแท่ง และ ยางอัดแท่งผสม ทั้งนี้เพื่อรองรับลูกค้าใหม่ 2 รายดังกล่าว โดย
1) Triangle มีสัญญาสั่งซื้อระหว่าง มิ.ย. 2563 – พ.ค. 2564 ที่ 24,000 ตัน
2) LLIT มีสัญญาสั่งซื้อช่วง ก.ค. 2563 – มิ.ย. 2564 ที่ 48,000 ตัน
รวมลูกค้าใหม่เพียง 2 รายนี้มีปริมาณถึง 72,000 ตัน กินสัดส่วนถึง 42% ของกำลังการผลิตใหม่ ที่เพิ่งเพิ่มขึ้นมา และมีอีกหลายรายที่อยู่ระหว่างเจรจา บริษัทคาดว่ากำลังการผลิตใหม่จะเต็มกำลังการผลิตที่ 80% ขึ้นไปได้ภายในปี 2564
การมีลูกค้าหลักเป็นประเทศจีน จากความเสี่ยงกลายเป็นโอกาสเพราะจีนกลับมาเปิดประเทศได้ไว ทำให้ตลาดยางรถยนต์สำหรับรถยนต์เก่าคึกคักเพราะผู้บริโภคกลับมาปรับปรุง สมรรถนะรถยนต์ตัวเองมากขึ้น การใช้ระบบขนส่งสาธารณะมีการใช้น้อยลงเพราะความกังวลเรื่องสุขอนามัย อีกทั้งการเติบโตของธุรกิจ Delivery ทำให้ยางรถยนต์มีความต้องการ เปลี่ยนใหม่มากขึ้น IRSG ระบุว่ายอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในจีนเดือน เม.ย. +31.5% YoY และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในเดือน พ.ค
ขณะที่รถยนต์ส่วนบุคคลเดือน พ.ค. +1.9% YoY เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบเกือบ 1 ปี เป็นนัยยะเชิงบวกต่อตลาดยางรถยนต์ใหม่เช่นกัน
ด้านอุปทานคู่แข่งในอุตสาหกรรมได้ประสบภาวะขา่ดทุนจนต้องปิดกิจการไปจำนวนมาก ทำให้ NER สามารถขายสินค้าได้ในราคาพรีเมี่ยมจากราคา SICOM ขณะที่การรับซื้อ วัตถุดิบสามารถต่อรองได้ในราคาต่ำกว่าตลาดเช่นกัน เป็นบวกต่อ GPM
นายกลงนามใช้ยางพาราทำวัสดุบนถนน มี 2 ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม 2 ผลิตภัณฑ์ คือ 1) แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และ 2) หลักนำทางยางธรรมชาติ ซึ่ง NER จะได้ ประโยชน์ในส่วนนี้ เนื่องจากต้องใช้วัตถุดิบคือ RSS และ STR
จุดแข็งที่สำคัญ: NER ต่างจากธุรกิจยางธรรมชาติอื่นคือ ไม่มีการสต๊อกน้ำยางจึงไม่มีความผันผวนเรื่องของกำไร/ขาดทุนจากสต๊อก และมีการซื้อยางมาเก็บเท่ากับที่จะต้องใช้ผลิตตามออเดอร์มีการกำหนดราคาขาย กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน บวกกับอัตรากำไรที่ต้องการทันที ณ วันทำสัญญาซื้อข้ย ทำให้คาดการณ์รายได้และอัตรากำไรได้ทันที 6 –8 เดือนล่วงหน้า จึงได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคายาง และอัตราแลกเปลี่ยนจำกัด
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities