การดีดตัวกลับแรงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะส่งผลทำให้ SET Index ได้รับ Sentiment เชิงบวกและดีดตัวขึ้นไปตาม แต่อย่างไรก็ตามในช่วงสัปดาห์หน้ายัง ต้องรอดู 2 เหตุการณ์ที่สำคัญ เริ่มจากการการประชุม Fed ในวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งคาด ว่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.75 – 1% และต้องติดตามมุมมองของ Fed หลังการประชุม อีกเรื่องหนึ่งคือการประกาศ GDP งวด 2Q65 ของสหรัฐฯ โดยหากออกมาติดลบ QoQ ก็จะทำให้ สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ Recession ตามนิยาม ถือเป็นสัญญาณลบ ส่วนวันนี้รอติดตามดูผลการประชุม ECB ว่าจะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ตามคาดหรือไม่ สำหรับประเด็นในบ้านเรามีเรื่องแนวทาง ของกระทรงพาณิชย์ในการควบคุมราคา หมู-ไก่ ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่มีความ ชัดเจน และผลประกอบการกลุ่มธนาคารที่จะทยอยประกาศออกมา
คาด SET Index ดีดตัวขึ้น แต่ยังไม่น่าตามคาดกรอบการเคลื่อนไหว 1515 – 1547 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ไม่มีการปรับเปลี่ยน โดยให้ถือเป็นเงินสดสำรองที่ระดับ 20% ไว้รอจังหวะซื้อเมื่อตลาดปรับฐาน หุ้น Top Pick เลือก BLA, CRC และ KBANK (BK:KBANK)
DOLLAR INDEX อ่อนค่า + EARNING SURPRISE ลุ้น FLOW ไหลกลับ สินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้น
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรปกำลังพิจารณาที่จะ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด โดยจะขึ้น 50 Bps. ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ จากปัจจุบันที่ดอกเบี้ยเงินฝาก -0.5% โดย หากมาดู ECB Fund Future ใน Bloomberg ก็สอดคล้องกัน โดย Imply rate ล่าสุดอยู่ ที่ -0.21% ซึ่งต่ำกว่า Gap ที่ -0.25% ประเด็นดังกล่าว ทำให้เงินยูโรพุ่งขึ้นสู่ระดับ 1.023 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นราว 1.0% ในวันเดียวกัน และแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคมที่ ผ่านมา
ขณะที่ฝั่งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2 ในสหรัฐฯ ดูแข็งแกร่ง หลัง ล่าสุดประกาศมาแล้ว 49 บริษัท(จากทั้งหมด 498 บริษัท) มีกำไร Surprise ราว 3% และ กลุ่มที่ Earning Surprise ได้แก่ พลังงาน(+9%) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์(+16%) และณ ICT(+5%) ขณะที่วานนี้มีบริษัทฮัลลิเบอร์ตันเปิดเผยกำไรไตรมาส 2 พุ่งขึ้น 41%YoY เนื่องจากความต้องการการขุดเจาะน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงหุ้นอย่าง Netflix (NASDAQ:NFLX) และกลุ่ม การเงินอื่นก็ออกมาดีกว่าคาดเช่นกันจึงทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐโดยรวมบวกไปราว2.4-3.1%
สรุป คือ เงินยูโรที่แข็งค่าจากท่าทีของ ECB ที่เริ่มใช้นโยบายทางการเงินเชิงรุกมากขึ้น ส่งผลให้ Dollar Index อ่อนค่า บวกกับกำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2 ของสหรัฐฯ ที่ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด ทำให้มีโอกาสเห็น Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่องรวมถึง ไทย โดยวันนี้มีแนวรับแรกที่ 1530 จุด และแนวรับสำคัญที่ 1515 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ ระดับ 1547 จุด
รัฐบาลพิจารณาควบคุมราคาหมูและไก่...กดดัน TFG GFPT และ CPF
ราคาหุ้นกลุ่มหมูและไก่ปรับลดลงแรงวานนี้ ได้แก่ TFG (-10.9%) GFPT (-9.6%) และ CPF (-3.9%) เกิดจากข่าวกรมการค้าภายในกำลังพิจารณาเข้ามาควบคุมราคาไก่และหมู มากขึ้น หลังจากที่เริ่มเห็นราคาวัตถุดิบข้าวโพดและกากถั่วเหลืองทยอยปรับลดลงมาบ้าง แล้ว อีกทั้ง ราคาไก่เป็นและสุกรหน้าฟาร์มก็ปรับเพิ่มขึ้นแรงมากในปี 2565 นำโดยราคาไก่ เป็นปรับเพิ่มขึ้นถึง 32% นับตั้งแต่ต้นปี 2565 จนล่าสุดอยู่ที่ 50 บาท/กก. และราคาสุกร หน้าฟาร์มก็ปรับเพิ่มขึ้นถึง 15% ในช่วงเวลาเดียวกัน มาที่ 108 บาท/กก. ซึ่งเป็นระดับ สูงสุดในรอบ 10 ปี จากปัญหาหมูขาดแคลน
ฝ่ายวิจัยประเมินว่าประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นลบต่อผู้ประกอบการไก่และหมูของ ไทย ได้แก่ TFG GFPT และ CPF เนื่องจากประเมินว่าแนวโน้มราคาไก่และหมูจะปรับ ลดลงได้บ้างจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูง โดยเรียงผู้ประกอบการที่คาดว่าจะได้รับ ผลกระทบดังนี้ คือ TFG (80% เป็นรายได้จากธุรกิจหมูและไก่ในไทย) GFPT (70% เป็นรายได้จากธุรกิจไก่ไทย) และ CPF (20% เป็นธุรกิจหมูและไก่ในไทย) อย่างไรก็ตาม ราคาไก่เป็นและสุกรหน้าฟาร์มเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2565 อยู่ที่ 42.2 บาท/กก. เพิ่มขึ้นถึง 31.8% yoy และ 100.9 บาท/กก. เพิ่มขึ้นถึง 37.7% yoy สูงกว่าสมมติฐานราคาไก่ เป็นและสุกรหน้าฟาร์มเฉลี่ยปี 2565 ที่ 42 บาท/กก. และ 95 บาท/กก. ฝ่ายวิจัยจึง ยังคงประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มเกษตร-อาหาร และคาดกำไรสุทธิงวด 2Q65 ของ CPF TFG และ GFPT จะเติบโตต่อเนื่อง จากทิศทางราคาไก่และหมูในไทยที่ปรับสูงขึ้น ในงวด 2Q65 โดยยังแนะนำซื้อ CPF (FV@B32) TFG (FV@B7.30) และ GFPT (FV@B17)
ค้นหาหุ้นกำไรโต ราคา LAGGARD น่าทยอยสะสมในโซนต่ำกว่า1570 จุด
ตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ถูกกดดันจากปัจจัยภายในและต่างประเทศ แต่เริ่มเห็นราคาลงลึกจน เริ่มน่าสะสม เนื่องจากฝ่ายวิจัยได้นำเสนอมาตลอดว่า ระดับดัชนีรองรับการขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ คือ 1570 จุด โดยจากการคำนวณที่ค่อนข้าง Conservative ภายใต้ MEYG 4.4% สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 4.2% และ EPS65F ที่ 88.9 บาท/หุ้น ต่ำกว่า Consensus ที่ 95 บาท/หุ้น
ขณะที่ปัจจุบันดัชนีปรับตัวลงมาต่อ แต่คาดว่าเริ่มลึกเกินพื้นฐาน และเริ่มเข้าสู่พื้นที่สะสม จาก 3 ปัจจัยดังนี้
1. SET Index ลงมาอยู่ในระดับให้เคียงกับค่าเฉลี่ยช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดโควิด สายพันเดลต้าหนักๆ (1 – 15 ส.ค. 64) ที่ 1534 จุด
2. GDP ไทยล่าสุดยังไม่น่ากังวลจนกลับไปติดลบเหมือนงวด 3Q64 ที่ -0.9%QoQ
3. กำไรปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อ โดยฝ่ายวิจัยคาด EPS Growth 65F อยู่ที่ 4%
เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ จึงประเมินแนวรับหรือจุดสะสมหุ้นที่ดัชนีต่ำกว่า 1570 จุด โดยแนว แรกบริเวณ 1530 จุด (ใก้เคียงค่าเฉลี่ยช่วงโควิดสายพันธ์เดลต้าแพร่ระบาดหนัก) อีก แนวเป็น 1515 จุด เป็นโซนแนวรับทางเทคนิค และเป็นบริเวณใกล้จุดต่ำสุดช่วงโควิด สายพันธ์เดลต้าแพร่ระบาดหนักเช่นกัน
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities