อาจมี Panic แต่แนวรับที่ 1535 น่าจะแข็งพอ Top Pick เลือก ADVANC, PLANB, MCS
จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอีกรอบหนึ่งสร้างความ กังวล ทำให้เม็ดเงินลงทุนย้ายออกจากสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้น เข้าสู่ สินทรัพย์ปลอดภัยดังที่ตลาดหุ้นสำคัญทั่วโลก รวมถึง Bond Yield ปรับตัว ลดลง ภาวะดังกล่าวน่าจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้ด้วย สำหรับ สถานการณ์ Covid-19ในบ้านเราถือว่าอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง โดยจำนวนผู้ ติดเชื้อใหม่ยังอยู่ระดับสูงกว่า 1.1 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่อัตราการเสียชีวิตก็มี แนวโน้มสูงขึ้น ภาวะดังกล่าวทำให้ต้องมีการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อที่ เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คาด GDP Growth ปี 2564 มีโอกาสที่จะติดลบอีกครั้ง มีโอกาสที่จะเห็น Panic Sell ได้อีกครั้ง คาดแนวรรับของ SET Index อยู่ที่ 1535 จุด พอร์ตจำลองให้ขาย COM7 ออก นำเงิน 5% ซื้อ PLANB อีก 5% เพิ่มเงินสดเป็น 10% Top Pick เลือก ADVANC, PLANB และ MCS
กลยุทธ์การลงทุน
COVID ระลอก 4 กลับมาเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกอีกครั้ง
ความผันผวนกับตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงนี้ หลักมาจากการแพร่ระบาด COVID-19 ระลอกที่ 4 ที่เกิดขึ้นอีกครั้งในหลายประเทศทั่วโลก มิใช่แค่ในเอเซีย และไทย ล่าสุผู้ ติดเชื้อรายใหม่ (New Case) พบในหลายประเทศทั่วโลก สะท้อนจากค่าเฉลี่ย 7 วัน ของผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลก และในสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน
ต้นเหตุการแพร่ระบาดหลักๆ มาจาก COVID สายพันธ์ Delta ที่แพร่กระจายได้เร็ว ทำ ให้ติดเชื้อมากขึ้น ASPS รวบรวมพบว่า สายพันธ์ Delta พบในผู้ติดเชื้อรายใหม่ สูง ถึง 50-90% (ดังรูป) ส่วนที่เหลือเป็นสายพันธ์อื่นๆ อาทิ อัลฟ่า ฯลฯ
ภาพรวมฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินแนวโน้ม หากรัฐบาลทั่วโลกกลับมาเพิ่มความคุม เข้มเศรษฐกิจในอนาคต อาจจะเปิด Downside เศรษฐกิระยะสั้นจะยังกดดันตลาด หุ้นในเอเซีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย อีกฝั่งหนึ่งประเมินน่าจะลดแรงกดดันความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะ กลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น คาดโอกาสที่ Fed อาจจะชะลอการส่ง สัญญาณ QE tapering และ การขึ้นดอกเบี้ยฯ
Wuhan Model ถูกอ้างอิงถึง หาก COVID-19 คุมไม่อยู่
สถานการณ์ COVID-19 ในไทยยังน่าเป็นห่วง หลังจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นใน ระดับเกิน 1 หมื่นราย/วัน โดยวานนี้เพิ่มขึ้นอีก 1,1305 ราย ขณะที่การเดินหน้าฉีด วัคซีนค่อนข้างล่าช้า หลังงานนี้มีจำนวนผู้รับวัคซีนเข็มแรกเพียง 69,667 ราย ส่งผลให้ ปัจจุบันไทยมีจำนวนประชากรที่รับวัคซีนเข็มแรกจำนวน 10.85 ล้านราย (15.6% ของ ทั้งระเทศ) ทั้งนี้ จากการประเมินของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อของไทยรายวันจะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับสูงสุดที่ 3,1997 ราย/วัน หากไม่มีมาตรการควบคุม (Worst case) หรือ 9,695-24,204 ราย/วัน ในกรณีฐาน (Baseline) หรือ 9,018-12,605 ราย/วัน ในกรณีควบคุมการระบาดได้ดี (Best case)
จากรูปข้างต้น แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ติดเชื้อของไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มอยู่ ขณะที่การ เดินหน้าฉีดวัคซีน COVID-19 เร่งตัวได้ช้ากว่า เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อ ส่งผลให้ จำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยควบคุมการระบาดได้ ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า หากมาตราการปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุม การระบาดได้ดีนัก อาจจะต้องพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดขึ้นอีก โดยอาจเป็นการ Lockdown 100% (ห้ามประชาชนออกจากบ้าน) หรือที่เรียกว่า Wuhan Model ASPS มองว่าหากไทยใช้Wuhan Model หรือ Lockdown 100% คาดผลกระทบต่อ เศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านความเข้มงวด และระยะเวลาที่ ยาวนานขึ้น (เมือง อู่ฮั่น Lockdown ตั้งแต่ 23 ม.ค. – 8 เม.ย. 2563 รวม 75 วัน) ซึ่ง จะเป็นการเปิด Downside ให้กับเศรษฐกิจ และกำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง เช่น ท่องเที่ยว, ขนส่ง, ค้าปลีก, ก่อสร้าง, บันเทิง, ศูนย์การค้า เป็นต้น
เงินทุนวิ่งหลบสายพันธ์เดลต้า เข้าสินทรัพย์ปลอดภัย ชอบ MCS ADVANC PLANB ภาพกังวลตัวเลขผู้ติดเขื้อ COVID-19 กลับมากดดันสินทรัพย์เสี่ยง โดยวานนี้ราคา น้ำมันลงแรง 6% กว่า รวมถึงตลาดหุ้น Dows Jones ปรับตัวลง 725.81 จุด หรือ 2.09% (ลงแรงสุดในรอบ 10 เดือน) โดยหลักๆ ถูกกดดันจากหุ้นที่มีความเกี่ยวข้องกับ การเปิดเมือง อาทิ Boeing -4.9%, Walt Disney -3.6%, JP Morgan -3.25% และ Chevron -2.7%
ขณะเดียวกันนั้น เห็นเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างชัดเจน สะท้อนได้จาก Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลงมาแรงอยู่ในระดับเดียวกันกับเดือน ก.พ. 64 ที่ 1.2%
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทยถูกกดดันจากภาวะดังกล่าวเช่นกัน ทั้งราคาน้ำมันที่ลงแรง (ตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนหุ้น Commodity ถึง 1 ใน 3) สัดส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อต่อ ประชากรยังอยู่ในระดับสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเริ่มมาตการ Lockdown ที่คุมเช้มขึ้นในวันนี้ กดดันกลุ่มหุ้นเปิดเมือง (กลุ่ม ท่องเที่ยว, ขนส่ง, อาหาร, ค้าปลีก ฯลฯ) ให้ปรับตัวขึ้นได้ยากเช่นเดียวกับตลาดหุ้น สหรัฐ ขณะที่ Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นไทย 9.8 พันล้านบาท (mtd) ปัจจัยดังกล่าวน่าจะกดดันให้ SET Index ยังอยู่ในภาวะ Risk off ประเมินแนวรับสำคัญ แรกของสัปดาห์ที่ 1535 จุด แนวรับถัดไป 1510 จุด กลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นปันผลสูง ผันผวน ADVANC, MCS และหุ้นมีกระแสบวกเฉพาะตัว PLANB MCS (FV @ 21.00) คาดกำไร 2Q64 ทำได้สูงถึง 330 ล้านบาท (+41%QoQ, +46%YoY) หนุนด้วยปริมาณส่งมอบโครงสร้างเหล็กรวม 2.25 หมื่นตัน โดยกำไร 1H64 ที่คาดว่าจะทำได้สูงถึง 564 ล้านบาท ประเมินปันผล 1H64 ไว้ที่ 0.55 บาท คิด เป็น Div Yield 3.8% ทิศทางกำไรครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก ตามแผนส่งมอบงานล่าสุด จึงปรับประมาณการกำไรปีนี้ขึ้น 13% อยู่ที่ 1.18 พันล้านบาท ประเมิน FV อิง PER (2565) 10 เท่า จะให้ราคาเหมาะสม 21.00 บาท มี Upside 44% และคาดหวังปันผล สูงถึง 8.90% ต่อปี ADVANC (FV @ 220.00) คาดกำไร 2Q64 อยู่ที่ 6.92 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2%qoq จากผลบวกการต้นทุนค่าเสื่อมอุปกรณ์ 3G 4G ที่ทยอยตัดจ่ายครบ และการ ควบคุมต้นทุนต่างๆ บวกกับ อานิสงส์ความเป็นผู้นำธุรกิจมือถือ ช่วยบรรเทาผลกำลัง ซื้อและการเติบโตธุรกิจรอง อาทิ อินเตอร์เนตบ้าน ที่ขึ้นมาระคองรายได้ในช่วงนี้โดย คาดการณ์กำไรปกติ 1H64 เป็น 50% ของกำไรทั้งปี ขณะที่ 2H64 คาดเติบโตเล็กน้อย จาก 1H64 จากบริการมือถือที่เป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น บวกกับ ความเป็นผู้นำ 5G กลยุทธ์ สร้างความแตกต่างด้วยบริการจากพันธมิตรล่าสุด Disney+ ที่ใช้ดึงดูดลูกค้าใหม่ เพิ่มเติม ซึ่งมูลค่าทางพื้นฐานปัจจุบันยังไม่รวมถึง Synergy ระยะยาวกับ GULF PLANB (FV @ 7.10) โอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020 ที่จะเริ่มจัดวันศุกร์ที่จะถึงนี้ คาด สร้างสีสันให้กับ PLANB ในช่วงนี้ หากพิจารณาในมุมพื้นฐาน จะเริ่มรับรู้รายได้จากสิทธิ์ โฆษณาประมาณ 500 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส 2-3 ของปีนี้หนุนเพิ่มกำไรสุทธิอีก 100 ล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside สูงกว่า 25% ถือเป็นโอกาสสะสม
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities