สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯยังคงกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หากเกิดการระบาด COVID-19 ระลอกที่สอง
ติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยตลาดจะรอลุ้นทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีนโดยคาดว่าจะส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว (Priced-In) จึงต้องระวังปัจจัยเสี่ยง โดยตลาดอาจกลับมาปิดรับความเสี่ยงและผันผวนสูงขึ้น
หากตลาดกังวลการระบาดรอบที่สองของ COVID-10 ในสหรัฐฯและจีนไปพร้อมกับปัญหาการเมืองยุโรปอย่าง Brexit
กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 30.75-31.25 บาท/ดอลลาร์
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันพฤหัสฯ ตลาดมองว่า BOE จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ไว้ที่ระดับ 0.10% แต่จะ
“เพิ่ม”วงเงินการซื้อสินทรัพย์ (QE) อย่างน้อย 1 แสนล้านปอนด์ สู่ระดับ 7.45 แสนล้านปอนด์เพื่อช่วยประคองการฟื้นตัวเศรษฐกิจและตลาดการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันอังคารตลาดมองว่า BOJ จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Balance Rate) ไว้ที่ระดับ -0.10% พร้อมทั้งคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 10ปีไว้ที่ 0.00% ขณะเดียวกัน BOJ จะเพิ่มขนาดโครงการเงินกู้ไร้ดอกเบี้ยและหลักประกันเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการจากวงเงิน 30 ล้านล้านเยน เป็น 60 ล้านล้านเยนโดยหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยเยียวยาบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และช่วยลดจำนวนบริษัทที่ยื่นล้มละลายลง
ดูปฏิทินกิจกรรมทางเศรษฐกิเจ
https://th.investing.com/economic-calendar/
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดคาดหวังต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้นสะท้อนจากคาดการณ์ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ที่จะเพิ่มขึ้น 8%จากเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ที่จะโต 3%จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสในประเด็นแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินในอนาคต
ฝั่งยุโรป – แม้ตลาดจะมีความหวังต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ชี้จากประมาณการดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเยอรมนี (ZEW Survey) เดือนมิถุนายนที่เพิ่มขึ้นแตะ60จุด แต่เศรษฐกิจยุโรปยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม อาทิ การเจรจาข้อตกลง Brexitรวมถึงการพิจารณากองทุนเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Recovery Fund) ตลอดสัปดาห์นี้
ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) จะโตได้ 5% เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 3.9% ขณะที่ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) ยังคงหดตัว 6% แต่ดีขึ้นจากที่หดตัวกว่า 10% ก่อนหน้า เช่นเดียวกับยอดค้าปลีก(Retail Sales) ที่หดตัวเหลือ 2.3% จากที่หดตัวถึง 7.5% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยจากการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI)
และธนาคารกลางไต้หวัน (CBC) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 4.25%และ1.00% ตามลำดับ
บทความห้ามพลา่ด