รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

การฟื้นตัวของผู้บริโภคคือกุญแจสำคัญในสัปดาห์นี้

เผยแพร่ 15/06/2563 14:37
อัพเดท 09/07/2566 17:31

ตลาดหลักทรัพย์และตลาดสกุลเงินปิดการซื้อขายในตลาดเมื่อวันศุกร์ที่แล้วด้วยการดีดตัวกลับขึ้นมาจากขาลงในช่วงกลางสัปดาห์ นอกจากข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยมหาลัยมิชิแกนที่สามารถเอาชนะตัวเลขคาดการณ์ไปได้ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษไปมากกว่านั้น อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวในตลาดสกุลเงินทำได้ดีในช่วงของการเปิดตลาดฝั่งยุโรปเพราะมาตรการปลดล็อกดาวน์เริ่มมีการผ่อนคลายมากขึ้นแต่เมื่อมาถึงช่วงเปิดตลาดของสหรัฐฯ ปรากฎว่าคู่สกุลเงินหลักๆ กลับปรับตัวลดลงเพราะนักลงทุนยังไม่ไว้ใจเรื่องการกลับมาแพร่ระบาดรอบที่ 2 ของเชื้อไวรัสโควิด-19 

สกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์และแคนดาดอลลาร์ คือ 2 สกุลเงินที่กลับมาทำผลงานได้ดีอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ซึ่งตามมาด้วยสกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ สาเหตุที่สกุลเงินแคนาดาดอลลาร์ทำผลงานได้ดีเพราะราคาน้ำมันดิบที่สามารถฟื้นตัวกลับมา ปอนด์คือสกุลเงินที่ไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ดีนักเพราะข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจไม่สามารถเอาชนะตัวเลขคาดการณ์ได้ ตัวเลข GDP และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ในขณะที่ตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของเดือนพฤษภาคมลดลง ข่าวดีเพียงอย่างเดียวของปอนด์คือรายงานตัวเลขขาดดุลทางการค้าที่ออกมาดีขึ้น ถึงกระนั้นปัญหาเรื่องข้อตกลงทางการค้าหลังจาก Brexit ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปยังคงเป็นปัจจัยหลักที่รั้งตัวเลขส่งออกนำเข้าและกิจกรรมทางการค้าขายทั้งหมดของสหราชอาณาจักรให้ไม่สามารถดีขึ้นได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในขณะที่ปอนด์ต้องถูกรั้งด้วย Brexit แต่สกุลเงินยูโรกลับไม่ได้เดือดร้อนจากปัญหานี้ รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงสามารถเอาชนะตัวเลขคาดการณ์ได้ทำให้ภาพรวมแล้วกราฟสกุลเงินยูโรดีกว่ากราฟปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์

ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นและตลาดสกุลเงินปรับตัวขึ้นมาในช่วงระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมมาจนถึงต้นเดือนมิถุนายนคือความหวังของตลาดที่มีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเราจะมาดูกันว่าความเชื่อมั่นนั้นที่ถูกประเมินออกมาเป็นตัวเลขจะดีมากน้อยแค่ไหนในสัปดาห์นี้ มาตรการล็อกดาวน์ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบแต่สัปดาห์นี้ตลาดจะเริ่มเห็นตัวเลขที่มาจากการฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคมเพราะมาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายๆ รัฐของสหรัฐอเมริกา มากไปกว่านั้นเราจะได้เห็นตัวเลขยอดขายปลีกของเดือนพฤษภาคมที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีนและแคนาดาซึ่งตลาดต้องการจะดูว่าการกลับมาของผู้บริโภคในแต่ละประเทศใครจะมีความแข็งแกร่งมากกว่ากัน อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตัวเลขที่ออกมาไม่น่าจะแสดงการกลับมาได้อย่างมีนัยสำคัญ พวกเขาประเมินว่าตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น 7.2% แต่ถ้าหากแยกตัวเลขการซื้อรถยนต์และพลังงานออกไปนักเศรษฐศาสตร์มองว่าสามารถกลับมาได้เพียง 3.9% เท่านั้นในขณะที่ตัวเลขคาดการณ์ยอดขายปลีกในสหราชอาณาจักรจะเพิ่มขึ้น 5%

เพราะนักเศรษฐศาสตร์ประเมินตัวเลขออกมาต่ำเราจึงเชื่อว่ามีโอกาสสูงที่ในสัปดาห์นี้ตัวเลขจริงจะออกมาดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เหล่านั้นคาดการณ์ ถ้าหากตัวเลขยอดขายปลีกออกมาดีกว่าที่คาดโดยเฉพาะอย่างในของสหรัฐฯ จะส่งผลให้ตลาดหุ้นและกราฟ {{3|USD/JPY} ปรับตัวสูงขึ้น ถ้าสัปดาห์นี้สหรัฐฯ ไม่โดนข่าวการกลับมาระบาดรอบที่ 2 ของโควิด-19 มาสกัดเชื่อว่านักลงทุนจะได้เห็นตัวเลขในภาคส่วนต่างๆ ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อยๆ ดีขึ้น ในตอนนี้เราจะเห็นได้ว่าบุคคลสำคัญที่อยู่รอบตัวโดนัลด์ ทรัมป์เริ่มออกมาปฏิเสธการระบาดรอบที่ 2 กันมากขึ้นในขณะที่ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อในรัฐสำคัญๆ กำลังกลับมา ดังนั้นข่าวตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสัปดาห์นี้ของสหรัฐฯ จะกลับมาส่งผลกระทบต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดลงทุนอีกครั้ง

นอกจากการรายงานตัวเลขยอดขายปลีกแล้วออสเตรเลียจะมีรายงานอัตราการจ้างงานในขณะที่นิวซีแลนด์มีรายงานตัวเลข GDP แต่เหตุการณ์ในสัปดาห์นี้ที่ควรจับตามองคือการประกาศนโยบายการเงินจาก 3 ธนาคารกลางได้แก่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) เชื่อว่า BoE จะทำเพียงการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเท่านั้นและเมื่อเทียบกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) พวกเขาถูกตั้งความหวังน้อยกว่าในเรื่องของการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจนติดลบ อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนที่แล้ว BoE เคยแถลงว่าอัตราดอกเบี้ยติดลบคือมาตรการหนึ่งที่ยังอยู่ในการพิจารณาซึ่งข่าวนี้ทำให้มูลค่าของปอนด์อ่อนลงอย่างรวดเร็ว เพราะเหล่าผู้วางนโยบายยังคงตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของอัตราดอกเบี้ยติดลบดังนั้นพวกเขาน่าจะหันไปใช้วิธีการซื้อบอนด์ประเภทต่างๆ แทน สรุปก็คือมีความเป็นไปได้ในสัปดาห์นี้ที่กราฟ GBP/USD จะปรับตัวลดลงอีก ส่วนอัตราดอกเบี้ยของ BoJ และ SNB ติดลบอยู่แล้ว เรามองว่าทาง BoJ น่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินแต่ SNB อาจจะมีการพูดคุยการเปลี่ยนนโยบายหรืออาจลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพราะพวกเขาต้องไม่ชอบใจแน่ที่เห็นกราฟ EUR/CHF ปรับตัวลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ความคิดเห็นล่าสุด

thank you
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย