🤑 ราคาไม่ได้ถูกมากไปกว่านี้แล้ว รับเลยส่วนลด Black Friday 60% ก่อนที่จะหมดเขต….รับส่วนลด

เบิ้ลเศรษฐกิจง่ายๆ แค่ปิดพรมแดน

เผยแพร่ 01/07/2563 18:39
อัพเดท 09/07/2566 17:32

มีเรื่องเล่าคลาสสิกของเศรษฐศาสตร์อยู่เรื่องหนึ่ง

หากนักเศรษฐศาสตร์เห็นแบงค์ตกอยู่บนพื้น
เขาจะไม่เก็บมันขึ้นมา

เพราะว่า หากเป็นแบงค์จริง คนอื่นๆคงเก็บไปแล้ว

เข้ากับสโลแกนที่ว่า
อะไรที่ดูดีเกินจริง มักไม่จริง

แต่ Michael Clemens นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐ แห่ง
Centre for Global Development, an anti-poverty think-tank ใน Washington, DC กล่าวว่า

ไม่จริ๊งงงงงงงง

จริงๆแล้วเงินฟรีมีอยู่เต็มไปหมด
และเงินฟรีนั้นจะทำให้ประชาชนบนโลกรวยขึ้นอีก 2 เท่าด้วย

แค่นโยบายเดียวเท่านั้น อยู่หมัดทันที
----
การเปิดพรมแดน

เขากล่าวว่า

แรงงานคือสินค้าที่มีค่ามากที่สุดในโลก
ต้องขอบคุณ นโยบายกฏเกณฑ์ด้านการย้ายถิ่นฐานที่เข้มงวด ทำให้สินค้าเหล่านี้เสียของอย่างที่สุด

การบังคับให้ประชาชนในดินแดนที่ยากไร้ ทำมาหากินในประเทศของตน ก็เหมือนกับการบังคับให้ชาวนาทำนาในแอนตาร์คติก

มันเป็นไปไม่ด๊ายยยยย
เป็นเรื่องที่ไร้สาระมากกกกก

เป็นการกระทำที่แทบจะไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจเลย
มีการคาดการณ์ว่า หากมีการเปิดพรมแดนสหรัฐ ชาวเม็กซิโกจะมีรายได้สูงขึ้นถึง 1.5 เท่า และ ชาวไนจีเรียมีรายได้สูงขึ้นถึง 10 เท่า

แต่เดี๋ยวก่อน!!!

การเปิดพรมแดนในที่นี้ ไม่ใช่การยกเลิกแนวคิดเรื่องความเป็นรัฐชาติ หรือ การยกเลิกเขตแดนระหว่างประเทศ

เพียงแต่เปิดให้มีการย้ายถิ่นฐานได้อย่างอิสระมากขึ้นเท่านั้นเอง

ทำไม

เพราะจากเดิม คนๆหนึ่งอาจใช้มือเปล่าๆปั้นอิฐดินเหนียวไปวันๆ ใช้เคียวเกี่ยวข้าวไปเรื่อยๆ

เมื่อย้ายไปยังประเทศที่ร่ำรวยกว่า สภาวะเอื้อต่อการทำงานมากกว่า

ที่สังคมมีการพัฒนาสถาบันที่ส่งเสริมความมั่งคั่งและสงบสุขมาอย่างยาวนาน

มีตลาดแรงงานที่มีทุนเพียงพอ มีบริษัทที่มีประสิทธิภาพ และระบบกฏหมายที่คาดเดาได้

คนคนเดียวกันอาจมาคุมเครื่องจักร ขับรถแทร็คเตอร์ ซึ่งวันเดียวอาจได้ผลผลิตมากกว่าที่พวกเขาทำทั้งเดือน ณ ที่เดิม

ทำให้

โดยปกติแล้วแรงงานในประเทศร่ำรวยมักมีรายได้มากกว่าแรงงานในประเทศยากจน

มันเป็นการยากยิ่งที่จะย้ายองค์กรของประเทศร่ำรวยไปตั้งที่กัมพูชา

แต่กลับกัน

ครอบครัวชาวกัมพูชาสามารถย้ายไปยังแคนาดาได้ง่ายกว่า

ทางที่เร็วที่สุดในการกำจัดความยากจนให้หมดไปคือการอนุญาตให้ผู้คนสามารถออกจากที่ๆยากลำบาก หรือไม่เอื้อต่อการทำมาหากินได้

Gallup บริษัทโพลล์ยักษ์ใหญ่ เคยสำรวจไว้ในปี 2013
คาดว่าหากมีการเปิดพรมแดนจริง

การอพยพอย่างถาวรจะสูงถึง 630 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 13% ของประชากรโลก!!!

และถ้าเปิดแบบชั่วคราวด้วย จะยิ่งสูงกว่านั้น

โดย
ประมาณ 138 ล้านคนจะย้ายไปยังสหรัฐ
ประมาณ 42 ล้านคนจะย้ายยังสหราชอาณาจักร
และ 29 ล้านคนจะย้ายไปซาอุดิอารเบีย

แต่ถึงกระนั้น ตัวเลขของGallup อาจจะทั้งสูงและต่ำไปก็ได้
(ว่าง่ายๆ คาดเดาไม่ได้นั่นเอง)

เพราะ....
ผู้คนมักไม่ทำตามสิ่งที่ตัวเองพูด

การย้ายถิ่นฐานเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญและการปรับตัวสูง
ต้องบอกลาถิ่นที่เคยคุ้นเคย
ต้องบอกลาญาติพี่น้อง
ต้องบอกลาอาหารพื้นเมืองที่ชื่นชอบ
ไปสู่ดินแดนที่ไม่คุ้นเคย ไม่มีใครรู้จัก พูดคนละภาษาหรือมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น กรณีของกรีซ
นับตั้งแต่วิกฤติปี 2010 มีประชาชนกรีซย้ายไปยังเยอรมัน ที่มีค่าจ้างสูงกว่า 2 เท่า เพียง 150,000 คน จากประชากร 11 ล้านคน
หรือคิดเป็นเพียง 1.4% เท่านั้น

แต่ถึงอย่างนั้น
โดยทั่วไป รุ่นแรกๆที่อพยพไปมักมีการบอกต่อถึงความเป็นอยู่ที่ดี โอกาสต่างๆ ทำให้มีการอพยพตามอย่างมากมาย
จนผลสุดท้าย การอพยพรุ่นที่ 3 รุ่นที่ 4 เมื่อไปถึง อาจจะพบว่าละแวกที่ย้ายไปนั้นมีแต่คนประเทศตนเองก็เป็นได้
ทำให้การอพยพก็กลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวน้อยลงไป

แต่ในยุคของBrexit และทรัมป์

เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นไปได้ยากเพราะ

การอพยพจำนวนมาก จะนำมาซึ่งความไม่พอใจของชาวพื้นเมือง
พวกเขากลัวว่าชีวิตของพวกเขาจะแย่ลง
พวกเขากลัวว่าจะโดนแย่งงานทำ
พวกเขากลัวว่าอาชญากรรมและก่อการร้ายจะมากขึ้น
พวกเขากลัววิถีชีวิตจะถูกคุกคามและกลืนหายไป

ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประเทศร่่ำรวยหรือประเทศปลายทางอย่างที่คาดเดาไม่ได้
ซึ่งความกลัวเหล่านี้คือเหตุผลที่เหล่าผู้ที่ต่อต้านการอพยพนั้นใช้เป็นข้ออ้างทางการเมือง

ปัญหาอาชญากรรม
ในสหรัฐจำนวนนักโทษมีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่เป็นผู้อพยพ
แต่ก็มีบางประเทศ เช่น สวีเดน ที่ผู้อพยพนั้นมีแนวโน้มจะเป็นปัญหามากกว่าชาวพื้นเมือง

นอกจากนั้นแล้ว
ยังมีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอร์ริคถึงการอพยพในช่วงปี 1970-2000 พบว่าการอพยพนั้นมีแนวโน้มที่จะลดการก่อการร้ายมากกว่าที่จะเพิ่ม

ส่วนใหญ่เป็นเพราะการอพยพช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจ
เรื่องเศรษฐกิจล่ะ

มีบ้างที่การไหลบ่าของแรงงานต่างชาติทำให้ค่าแรงสำหรับแรงงานที่ทักษาะใกล้เคียงกันต่ำลง แต่หากแรงงานที่ไหลเข้ามานั้นมีทักษาที่ต่างกัน ก็จะเป็นการชดเชยสาวนของแรงงานที่ขาดอยู่ เช่น วิศวกร หมอ หรือวิชาชีพอื่นๆ

นอกจากนั้นแล้ว ผู้อพยพทักษะน้อยบางส่วน ยังสามาระรับหน้าที่ดูแลเด็กและคนแก่แทน เพื่อให้ชาวพื้นเมืองสามารถนำทักษะของตนไปทำกิจกรรมที่มีมูลค่ามากกว่าได้

ความแออัด

The Economist มองว่า
อาจเป็นไปได้ในเมืองที่เป็นที่นิยมเช่น ลอนดอน

แต่เมืองส่วนใหญ่ในยุโรปยังสามารถขยายตัวได้อีก
สร้างพื้นที่เพิ่มเติมและขยายออกไปเรื่อยๆจนกระทั่งการย้ายถิ่นฐานเริ่มลดลงและใกล้เคียงกับสภาวะปกติ

ถึงแม้จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า

การอพยพอาจนำพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์มาด้วย เช่น การทุจริตทางการเมือง การไม่ยอมรับเกย์ ถ้ามีการอพยพของคนเหล่านั้นมามากพอ พวกเขาอาจลงคะแนนเสียงให้จัดตั้งรัฐบาลอิสลาม หรือให้คนที่ยกภาษีของคนพื้นเมืองให้เพื่อเอาใจผู้อพยพก็ได้

การเปิดพรมแดนแบบทันทีย่อมมีความเสี่ยงอย่างแน่นอนหากไม่มีนโยบายที่เหมาะสมที่จะช่วยการดูดซับการไหลเข้าของผู้อพยพ

แต่ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถลดได้ เช่น
หากกังวลว่าผู้อพยพจะลงคะแนนเสียงทำให้รัฐบาลไม่สนใจชนพื้นเมืองหรือทำให้รัฐบาลไม่เกี่ยวโยงกับพวกเขา

ทางออกหนึ่งคือการไม่ให้สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงพวกเขา 5 ปี 10 ปี หรืออาจจะตลอดชีวิต

หากกลัวเรื่องสวัสดิการหรือค่าใช้จ่าย ก็เก็บค่าเข้าเมือง(VISA)สูงขึ้น หรือ จำกัดการเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ

ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะเลือกใช่้วิธีอย่างไร
อาจจะฟังดูเป็นการเลือกปฏิบัติ
ถูก!!!!!

มันเป็นการเลือกปฏิบัติ
แต่ก็เป็นการดีกว่าสำหรับผู้อพยพที่จะได้เข้าร่วมตลาดแรงงานของประเทศร่ำรวย

เว้นแต่ว่าพวกเขาจะจ่ายเงินจำนวนมากให้กับพวกลักลอบพาเข้าเมือง และทำงานอยู่ในตลาดแรงงานใต้ดินและเสี่ยงต่อการถูกส่งตัวกลับ

ทุกวันนี้ผู้อพยพทำงานอยู่ตามมุมมืดต่างๆ ที่ซึ่งพวกเขาไม่มีสิทธิ์ทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังคงย้ายเข้ามา โดยที่ไม่มีใครบังคับ

จริงๆแล้ว เงินฟรีจำนวนมากรอให้เราหยิบอยู่
การเปิดพรมแดนช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ตรงนั้น
ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรให้ชาวพื้นเมืองได้ประโยชน์เหล่านั้นด้วย

โดยทั่วไปแล้ว
รัฐบาลสมัยใหม่มักมีการใช้ภาษีจากคนหนุ่มเพื่อดูแลคนแก่ คนรวยเพื่อดูแลคนจน

ทำไมไม่ใช้นโยบายเดียวกันนี้เพื่อแจกจ่ายความมั่งคั่งจากผู้อพยพไปยังชาวพื้นเมืองล่ะ

ถ้าโลกแห่งการอพยพอย่างอิสระ
จะทำให้คนรวยขึ้นกว่า 78,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เหล่าเสรีนิยมทั้งหลายไม่ควรที่จะเตรียมพร้อมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นหรือ?

#แอดลุง
แปลและเรียบเรียง
Source : https://www.economist.com/…/21724907-yes-it-would-be-disrup…

บทความจากเพจ AKN BLOG

ห้ามพลาด

♦การมาของสงครามการค้าแบบกองโจร

♦สงครามการค้าแบบกองโจร? ( 2 )

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย