(Trade) Guerrilla Warfare is Coming (1)
การมาของสงครามการค้าแบบกองโจร (1)
ปี 2020 นับได้ว่าเป็นปีที่โหดร้ายเป็นอย่างยิ่งของนักลงทุนทั้งหลาย เพราะเต็มไปด้วยปัจจัยลบเป็นจำนวนมากที่ผลัดกันเข้ามากระทบอย่างไม่หยุดหย่อน อาทิเช่น การลอบสังหารนายพลอิหร่านเมื่อต้นปี, สงครามราคาน้ำมัน, และการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นต้น ไม่รวมเหตุเล็กๆน้อยๆที่ตลาดดูเหมือนจะมองข้ามไปอีกจำนวนมาก (เพราะ COVID-19 กลบหมด)
ซึ่งการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นก็ (ดูเหมือน) ดีขึ้นในหลากประเทศทั่วโลก ก่อนที่จะมากังวลอีกครั้งว่าจะมี Wave 2 เกิดขึ้นหรือไม่ไม่นานมานี้
แต่เดี๋ยวก่อน!!!!
ถึงแม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะชะลอลงนั้น เราก็ยังไม่อาจเชื่อได้ว่าปี 2020 ที่เหลือนั้นโลกของการลงทุนจะราบรื่นโรยด้วยกลียกุหลายแต่อย่างใด
เพราะท้ายที่สุดแล้วนั้น ยังมีอีกปัจจัยที่เสมือนถ่านไฟเก่าครุกรุ่นรออยู่ 2 ปัจจัย ซึ่งเกี่ยวข้องกันก็คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และสงครามการค้า
ในส่วนของประเด็นแรก การเลือกตั้งปธน.นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ เมื่อทราบผลปธน.คนต่อไป ไม่ว่าเป็นใครก็จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการช่วงต้นปี
ซึ่งเราเคยเขียนถึงความแปลกของทรัมป์ไปก่อนหน้านี้แล้วว่าเป็นปธน.สหรัฐฯ ที่มีคะแนนนิยมต่ำอย่างสม่ำเสมอมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นก่อนเลือกตั้ง หรือหลังชนะการเลือกตั้งแล้วก็ตาม ทำให้เดิมทีนั้นเราค่อนข้างเชื่อว่าทรัมป์มีโอกาสสูงที่จะชนะอีกสมัยแม้ว่าคะแนนนิยม และผลสำรวจทุกที่จะดูเหมือนต่ำก็ตาม แต่เมื่อมีปัจจัยใหม่เข้ามาอันประกอบไปด้วย
- ผลเลือกตั้งกลางเทอม (Mid Term Election)
- แรงกดดันของ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจ
- การเป็นตัวแทนของนายโจ ไบเดน
ทำให้ความมั่นใจดังกล่าวของเราเปลี่ยนไป
เริ่มต้นที่การเลือกตั้งกลางเทอมก่อน
Midterm Election นั้นขึ้นชื่อเรื่องปริมาณผู้มาใช้สิทธิ์อยู่แล้วว่าน้อยกว่าการเลือกตั้งปธน.อยู่เสมอ
โดยสถิติในรอบ 10 ครั้งที่ผ่านมานั้นมีผู้มาใช้สิทธิ์เฉลี่ยเพียง 39% เท่านั้น แต่ภายใต้การนำของทรัมป์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับหลายๆฝ่าย ด้วยแนวโน้มโผงผางของเขานั้น ก็กระตุ้นให้ประชากรชาวสหรัฐฯ ออกมาใช้สิทธิ์ถึง 50% ซึ่งอาจจะดูเหมือนไม่มาก แต่ก็สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1918 หรือ 100 ปีถ้วนเลยทีเดียว
ซึ่งตัวเลขนี้มีนัยยะมาก เพราะจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ที่มากขึ้นนั้น อาจส่งผลให้แนวโน้มการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไป หากสิ่งที่กระตุ้นนั้นคือความไม่พอใจ (หากนึกภาพไม่ออก อาจนึกภาพการเลือกตั้งล่าสุดของบ้านเรา) ซึ่งผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นก็สะท้อนความไม่พอใจหลายๆอย่างได้อย่างดี ด้วยการเสียที่นั่งในสภาล่างไปถึง 39 ที่นั่ง
เมื่อประกอบกับการที่ COVID-19 กระทบการเปิดเมืองอย่างจัง ก็ทำให้เริ่มมีแนวคิดในนำการลงคะแนนเสียงผ่านจดหมายกันมากขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แน่นอนว่าทรัมป์ไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน แต่หากแนวคิดดังกล่าวผ่านจริง อาจจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้คนจำนวนมากเข้าถึงการใช้สิทธิ์จากที่บ้าน และทำให้โอกาสชนะการเลือกตั้งของทรัมป์ลดลงไปก็ได้
2. ที่ผ่านมานับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น นอกจากระหว่างและสงครามโลกครั้งที่ 1 ระยะสั้นนั้น ยังไม่มีปธน.คนใดเลยได้รับการเลือกตั้งสมัยที่ 2 หากเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 2 ปีก่อนหน้าการเลือกตั้ง
มาในครั้งนี้เหมือนเป็นเคราะห์ร้ายของทรัมป์ เมื่อต้นปีอุตส่าห์กอดคอกับจีนเป็นเพื่อนกันหวังว่าเศรษฐกิจจะกลับมาปรกติ ก็เจอกับ COVID-19 เข้าให้
ทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว หากพิจารณาจากสถิติ ความน่าจะเป็นที่ทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งก็เป็นไปได้ยากอีก
ถามว่าทำไม หลักๆก็คือประชาชนจำนวนมากไม่ได้สนใจการเมืองอย่างที่เราๆ ท่านๆ สนใจกัน แต่เมื่อเศรษฐกิจแย่นั้น เขาจะรู้สึกถึงได้ทันที และเมื่อเป็นเช่นนั้น เขาก็คงไม่โทษใครนอกจากผู้นำ เพราะคือผู้ที่ถูกเลือกเข้ามาให้นำพาประเทศไปได้ดี ทำให้หากเศรษฐกิจถดถอยก็มีแนวโน้มสูงที่ปธน.คนเดิมมักจะแพ้การเลือกตั้ง
3.โจไบเดน นั้นถือว่าเป็นนักการเมืองขั่วตรงข้ามของทรัมป์พอสมควร
แต่ในความตรงกันข้ามนั้นเป็นความตรงกันข้ามที่ไม่สุดขั้ว กล่าวคือฝ่ายเดโมแครตมักจะมีข้อที่ถูกโจมตีก็คือเอาใจชนชั้นกลางถึงล่าง และเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ซึ่งแนวคิดบางอย่างนั้นเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโดยรวมในระยะสั้น เช่น การเข้าควบคุมราคายา การขึ้นภาษีบริษัทขนาดใหญ่
แต่โจไบเดน เป็นสายพาสเทล สายซอฟท์ ที่คิดคล้ายๆกับแนวดังกล่าว แต่โทนที่เบาลง เมื่อประกอบกับภาพลักษณ์ที่ดีสมัยเป็นรองปธน.ของบารัค โอบามา ก็ทำให้ไบเดน เป็นผู้เข้าชิงที่ดูเป็นกลางมากขึ้น ไม่สุดขั่วเกินไป อาจทำให้กลุ่มที่ยังลังเลมีโอกาสปันใจมาให้มากขึ้น
ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว อย่างเราๆ ยังเห็นข้อสังเกตเหล่านี้กัน ระดับทรัมป์มีหรือจะไม่รู้
ก็เลยทำให้เกิดความเป็นไปได้สูงที่ทรัมป์จะดำเนินกลยุทธ์ต่อไป เพื่อเรียกคะแนนเสียงให้เขาชนะการเลือกตั้งอีกสมัย และแน่นอนว่ามันเกี่ยวข้องกับสงครามการค้าอย่างแน่นอน แต่จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามอ่านต่อวันพรุ่งนี้...
#แอดลุง
Source : CNBC, electproject.org
บทความจากเพจ AKN BLOG