มหกรรมลดราคา Black Friday เริ่มต้นขึ้นแล้ว ตอนนี้! ห้ามพลาดกับส่วนลดสูงสุดถึง 60% InvestingProรับส่วนลด

แม้ข้อมูลเศรษฐกิจจะออกมาดี แต่ความผันผวนในตลาดฟอเร็กซ์ยังเพิ่มขึ้น

เผยแพร่ 18/04/2562 02:39
EUR/USD
-
AUD/USD
-
NZD/USD
-
VIX
-

ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 17 เมษายน 2019

โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management

ความผันผวนในตลาดฟอเร็กซ์อยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี นักวิเคราะห์หลายท่านต่างก็มีความเห็นว่าจะเกิดการทะลุกรอบราคาเร็ว ๆ นี้แน่นอน VIX ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความผันผวนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำลงเป็นสามเท่าจากระดับที่เคยขึ้นไปแตะในเดือนธันวาคม และปฏิทินเศรษฐกิจที่อัดแน่นเมื่อวานนี้ก็ไม่อาจสร้างความเคลื่อนไหวใด ๆ ที่สำคัญได้เลย ล่าสุดจีนได้รายงานความคืบหน้าที่โดดเด่นในภาคการค้าปลีกและการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมถึงตัวเลข GDP ในไตรมาสแรกที่เพิ่มสูงขึ้นจนช่วยหนุนคู่สกุลเงิน AUD/USD สู่ระดับที่สูงสุดในระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือน แต่ทว่าแรงซื้อกลับอ่อนแรงลงก่อนปิดเวลาซื้อขายตลาดหุ้นนิวยอร์ค คู่สกุลเงินกลับย่อตัวลงมาหักลบกับแดนบวกที่เคยทำไว้จนหมด นอกจากนี้ข้อมูลทางการค้าฝั่งยูโรโซนก็ไม่อาจโอบอุ้มสกุลเงินยูโรไว้ได้ อีกทั้งดอลลาร์แคนาดาก็ปรับตัวขึ้นมาเพียงเล็กน้อยแม้ว่าจะมีอัตราเงินเฟ้อและดุลการค้าในประเทศที่สูงขึ้น คงจะง่ายเกินไปถ้าหากจะฟันธงว่าความซบเซาดังกล่าวเกิดจากวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ที่ใกล้เข้ามาถึง เพราะระดับความผันผวนได้คงอยู่ในระดับต่ำมาหลายสัปดาห์แล้ว หากพิจารณาจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตก็ถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะการผันผวนจะพุ่งขึ้นมา แต่ตามพื้นฐานแล้วขณะนี้ยังไม่มีปัจจัยกระตุ้นใดที่ชัดเจน Brexit เองก็จะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ไปอีก 4 หรือ 5 เดือน ส่วนการเจรจาการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ก็ยังดำเนินต่อไปในทางบวก และธนาคารกลางหลักต่าง ๆ ของโลกก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินครั้งใหญ่ในปีนี้ หากหุ้นยังไต่ขึ้นต่อไป ความผันผวนก็จะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปเช่นกัน

ความผันผวนจะกลับมาก็ต่อเมื่อหุ้นพากันดิ่งลง ตลาดหุ้นยังวนเวียนอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบหกเดือน ฉะนั้นผู้ลงทุนก็ยังสามารถอุ่นใจได้ เพราะการเทขายหุ้นอย่างรุนแรงจะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการขายจุดทำกำไรและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงกันอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งเราก็เคยเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวมาแล้วเมื่อเดือนธันวาคมและมกราคมที่ผ่านมา ดังนั้นคำถามข้อเดียวในขณะนี้คือสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงกระตุ้นคืออะไร เราทราบดีว่าธนาคารกลางต่าง ๆ มีความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นแสดงให้เห็นว่าตลาดกลับไม่ได้มีความกังวลในลักษณะเดียวกันแต่อย่างใด ทั้งนี้หุ้นอาจทะยานขึ้นไปอีกหากการเจรจาทางการค้าจีน-สหรัฐฯ ส่งสัญญาณในทางลบ หรือข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ - ยุโรปทวีความรุนแรงขึ้น ถ้าหากผลประกอบการออกมาอ่อนแอหรือข้อมูลทางเศรษฐกิจมีความคงตัวมากพอที่ธนาคารกลางจะพิจารณาใช้นโยบายแบบตึงตัว การพิจารณาเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาจเป็นตัวฉุดหุ้นลงไป แต่ทั้งนี้บางครั้งหุ้นก็ปรับตัวอย่างไม่มีสาเหตุเช่นกัน เช่นอาจมีอยู่วันหนึ่งที่เกิดการเทขายหุ้นอย่างฉับพลัน แล้วความกลัวการขาดทุนมากกว่าเดิมจึงยิ่งกดดันให้หุ้นดิ่งลงไปอีก

ในระหว่างนี้ รายงานทางเศรษฐกิจล่าสุดระบุว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของจีนนั้นได้ผลชะงัด รายจ่ายผู้บริโภคและตัวเลขภาคการผลิตพลิกฟื้นขึ้นมาอย่างแข็งแกร่งในเดือนมีนาคม และอัตราการเติบโตของ GDP ก็เช่นกัน แต่การชะลอตัวเมื่อเทียบปีต่อปีนั้นยังอยู่ในระดับต่ำกว่าการคาดการณ์ รายงานดังกล่าวช่วยหนุนให้คู่สกุลเงิน AUDUSD ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในระยะเวลาหนึ่งเดือน และฉุดให้ NZDUSD ฟื้นขึ้นมาจากจุดต่ำสุด แต่แรงซื้อดังกล่าวยังไม่มีความเสถียรสักเท่าไรเนื่องจากตอนนี้อาจยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่าขาลงของเศรษฐกิจจีนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ธนาคารกลางออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ต่างก็วางแผนมานานแล้วว่าจะลดอัตราดอกเบี้ย และรายงานดัชนี CPI จากนิวซีแลนด์เมื่อคืนนี้ก็ยิ่งตอกย้ำความจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายแบบผ่อนคลายอีก ค่าดัชนีที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ได้ทำให้คู่ NZD/USD ดิ่งลงสู่ระดับที่ต่ำสุดในรอบสามเดือนที่ .6670

เพราะข้อมูลทางการค้าของฝั่งยูโรโซนที่ออกมาแข็งแกร่งมากขึ้น จึงทำให้ EUR/USD ยังวนเวียนอยู่ที่ระดับ 1.13 บททดสอบที่แท้จริงของสกุลเงินยูโรจะมาในรูปแบบของรายงาน PMI ในวันนี้ ถ้าหากข้อมูลเผยให้เห็นว่ากิจกรรมภาคการผลิตและภาคการบริการในเดือนเมษายนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว EUR/USD อาจพุ่งขึ้นไปถึง 1.1350 ได้ แต่ถ้าหากตัวเลขออกมาซบเซา 1.13 ก็จะกลายเป็นแนวต้านอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีกำหนดการประกาศยอดค้าปลีกจากทางสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรอีกด้วย คาดว่ารายจ่ายผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นมาอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และความแข็งแรงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่รายจ่ายผู้บริโภคทางฝั่งสหราชอาณาจักรน่าจะยังคงออกมาอ่อนแอเช่นเดิม โดยอ้างอิงจากรายงานล่าสุดที่เผยว่าอัตราเงินเฟ้อยังไม่ขยับเขยื้อน

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย